กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13669
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาแก่สมาชิกแปลงใหญ่ยางพาราในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension of trichoderma spp. utilization for para rubber collaborative farmers in Hatyai District of Songkhla Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันท์ สีสังข์ สุกัญญา มุสิกชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธำรงเจต พัฒมุข |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ไตรโคเดอร์มา ยางพารา--ไทย--สงขลา |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกแปลงใหญ่ 2) สภาพและปัญหาการผลิตยางพาราของสมาชิกแปลงใหญ่ 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาของสมาชิกแปลงใหญ่ 4) การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในสวนยางพาราของสมาชิกแปลงใหญ่ 5) ความต้องการของสมาชิกแปลงใหญ่เกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา และ 6) แนวทางการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในสวนยางพาราแก่สมาชิกแปลงใหญ่การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ยางพาราในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวนรวม 331 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 182 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ มีการใช้การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรที่ให้ข้อมูลอายุเฉลี่ย 57.49 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา 2) สภาพพื้นที่ผลิตยางพาราเป็นที่ราบลุ่ม พันธุ์ยางที่ปลูกส่วนมาก คือ พันธุ์ RRIM600 เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ ปุ๋ยเคมีราคาสูง ราคายางพาราไม่แน่นอน และการขาดความรู้ในการใช้ปุ๋ยและการป้องกันโรค 3) เกษตรกรมีความรู้เรื่องการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา คือ การบ่มเชื้อราไตรโคเดอร์มาในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีมดและแมลง และการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา คือ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาไม่มีพิษตกค้างต่อเกษตรกร 4) เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่เคยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในสวนยางพารา 5) เกษตรกรต้องการการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีการสาธิตวิธีการผลิตและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ในระดับมาก 6) แนวทางการส่งเสริมการใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มาแก่เกษตรกร ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่และต้านทานโรค และการใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีในการป้องกันโรค |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13669 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659001867.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น