กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13673
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกรอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adoption of soil improvement technology in rice fields for farmers in Chiangklang District, Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร
จิลลาภัทร ทีฆาวงค์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปริชาติ ดิษฐกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--ดิน
การปรับปรุงดิน--ไทย--น่าน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตข้าว 3) การปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าว 4) การยอมรับเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าว 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าว การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการผลิต 2566/67 จำนวน 443 ราย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโรยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 ราย สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดลำดับ ผลการวิจัย 1) เกษตรกรเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.01 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา  ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 23.61 ปี เกษตรกรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดินเฉลี่ย 2.44 ครั้ง มีรายได้จากการผลิตข้าวเฉลี่ย 10,197.19 บาทต่อปี ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 3,865.34 บาทต่อไร่ พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 4.08 ไร่ ปริมาณผลผลิตรวมเฉลี่ย 2,474.26 กิโลกรัม และจำนวนแรงงานในการผลิตข้าว เฉลี่ย 6.35 คน 2) สภาพพื้นที่เพาะปลูกข้าวเป็นที่ราบลุ่ม เกษตรกรนิยมปลูกข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 โดยใช้วิธีการปลูกแบบนาดำ มีการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิต และจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ในนาข้าวโดยการอัดฟางก้อน 3) เกษตรกรมีการปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวมากที่สุด คือ การกำจัดวัชพืช ตากดิน และเตรียมดินก่อนการปลูก การปลูกพืชหมุนเวียนกับพืชหลัก และการเก็บตัวอย่างดินเพื่อตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน 4) เกษตรกรยอมรับการปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวมากที่สุด ในประเด็นความรู้เรื่องการเก็บตัวอย่างดินเพื่อตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน 5) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวมากที่สุด ในประเด็น การลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าว การปรับปรุงบำรุงดิน และการเตรียมดิน ตามลำดับ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปรับปรุงบำรุงดินผ่านการฝึกอบรม การจัดสาธิตวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าว รวมถึงการอนุรักษ์ดิน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13673
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659001909.pdf3.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น