กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13677
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines of integrated pest management on rice farmers in Mae Wong District, Nakhon Sawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง
พัฒนนันท์ ปานพาน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--โรคและศัตรูพืช--การควบคุมแบบผสมผสาน--ไทย--นครสวรรค์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) แหล่งความรู้ และการปฏิบัติในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร 4) ปัญหาการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร 5) ความต้องการและแนวทางส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ปี 2566  จำนวน 4,048 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 195 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 51.3 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.84 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์การปลูกข้าวเฉลี่ย 30.55 ปี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสมาชิก ธ.ก.ส. ขนาดพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 18.04 ไร่ จำนวนแรงงานทางการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 1.81 คน ใช้ต้นทุนเฉลี่ย 4,560.26 บาท/ไร่ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 900.51 กิโลกรัม/ไร่ รายได้จากการผลิตข้าวเฉลี่ย 9,497.44 บาท/ไร่ มีแหล่งเงินทุน จาก ธกส 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวบนพื้นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ใช้แหล่งน้ำจากบ่อบาดาล ใช้ข้าวพันธุ์ กข 29  ปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตม ส่วนใหญ่พบการระบาดศัตรูข้าว ได้แก่ โรคเมล็ดด่าง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง และหนอนกระทู้คอรวง 3) ได้รับแหล่งความรู้จากสื่อบุคล ได้แก่ ญาติ เพื่อน สื่อกลุ่ม ได้แก่ การฝึกอบรม สื่อมวลชนได้แก่  เครือข่ายสังคม ไลน์ การปฏิบัติการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานมากที่สุดโดยใช้วิธีเขตกรรม คือ การให้ปุ๋ย  ตรงตามชนิดพืชและสภาพดิน ปฏิบัติน้อยที่สุดคือใช้ชีววิธีโดยใช้ตัวเบียน  การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้จัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน รวมกัน 3 วิธี คือ การเขตกรรม วิธีกล และวิธีใช้สารเคมี 4) ปัญหาของการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานพบมากที่สุด คือ ขาดความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีฟิสิกส์ ด้านการส่งเสริม คือ ขาดการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ศัตรูธรรมชาติมีอายุการควบคุมศัตรูพืชระยะเวลาสั้น 5) เกษตรกร ต้องการการส่งเสริมการใช้สารสกัดธรรมชาติมากที่สุดจากเจ้าหน้าที่รัฐ สื่อแผ่นพับ อินเตอร์เน็ต และวิธีการประชุม แนวทางการส่งเสริม คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมบูรณาการภาครัฐและเอกชน สร้างการรับรู้สู่เกษตรกร ผ่านการฝึกอบรม การฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ปัญหาจากแปลงเรียนรู้โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเป็นพี่เลี้ยง เน้นการใช้สื่อจากแผ่นพับและคู่มือ สร้างการเชื่อมโยงเครือข่าย การประสาน  การให้ข่าวสารทันเหตุการณ์จาก สื่ออินเตอร์เน็ต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13677
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659001974.pdf1.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น