กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13678
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for development of community pest management centers in Mae Hong Son Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน นฤมล มั่นแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจของสมาชิก 2) ความพึงพอใจของสมาชิกและการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนของคณะกรรมการ 3) ความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็นและความต้องการส่งเสริมการดำเนินงาน 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 5) สภาพแวดล้อมภายในภายนอก และแนวทางในการพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ศึกษามี 3 กลุ่ม คือ 1) สมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 210 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน จำนวน 138 ราย ด้วยวิธีการสุ่มแบบง่ายโดยจับสลาก 2) คณะกรรมการศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนระดับจังหวัด จำนวน 7 ราย และ 3) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอารักขาพืช ระดับอำเภอ จำนวน 7 ราย เก็บข้อมูล โดยแบบสัมภาษณ์ และประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่ข้อมูลผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 43.36 ปี จบชั้นประถมศึกษา 2) สมาชิกมีความพึงพอใจในการดำเนินงานในระดับมากที่สุดในด้านการบริหารจัดการศัตรูพืช และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้อยละ 85.7 มีการดำเนินงานระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการ 3) สมาชิกมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานในระดับปานกลาง และได้รับความรู้จากสื่อบุคคลมากที่สุด โดยเฉพาะจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาศูนย์มากที่สุดในด้านการจัดการศัตรูพืช และมีความต้องการพัฒนาการดำเนินงานมากที่สุดในด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 4) สมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนมีปัญหาระดับปานกลาง โดยพบว่ามีปัญหาด้านความรู้ในการจัดการศัตรูพืชมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการศูนย์มากที่สุดในการส่งเสริมการประสานงาน 5) สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก พบว่า จุดแข็งเจ้าหน้าที่และสมาชิกมีความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืช จุดอ่อนงบประมาณที่ได้รับสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมมีจำกัด โอกาสจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนกิจกรรม และมีอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารของเจ้าหน้าที่ แนวทางการพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ควรเน้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาชิก โดยส่งเสริมให้สมาชิกมีการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ มีการพัฒนาเครือข่ายในการติดต่อสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอารักขาพืชในจังหวัดแม่ฮ่องสอน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13678 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659001990.pdf | 2.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น