กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13688
ชื่อเรื่อง: | Extension of Quality Cassava Stalks Production for Farmers in Wang Chaphlu Sub-district, Khanu Woralaksaburi District, Kamphaengphet Province การส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังคุณภาพของเกษตรกรใน ตำบลวังชะพลู อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | PATCHAREEPORN JAILAK พัชรีพร ใจหลัก Nareerut Seerasarn นารีรัตน์ สีระสาร Sukhothai Thammathirat Open University Nareerut Seerasarn นารีรัตน์ สีระสาร [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังคุณภาพ การผลิตมันสำปะหลัง Quality Cassava Stalks Production Cassava Production |
วันที่เผยแพร่: | 15 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objective of this study was to study 1) social and economic conditions of farmers 2) situations of cassava stalks productions of farmers 3) extension needs in quality cassava stalks production of farmers 4) problems and suggestions on the extensions of cassava stalks production by farmers.The research is survey research. The population consisted of 325 farmers in Wang Chaphlu Subdistrict. Khanu Woralaksaburi District Kamphaeng Phet Province who registered with the Department of Agricultural Extension in the production year of 2022. The 180-sample size was based on Taro Yamane formula with the error value of 0.05. Structured interviews were used for data collection. Statistics used were frequency, percentage, mean, minimum, maximum, average, standard deviation and ranking.The results showed that 1) 63.3% of farmers are male, the average age of 50.06 years. 63.3% completed primary education. The average of 21.88 years of experience in growing cassava, 75 % were members of the BAAC customer group, the average planting area of 27.43 rai, the average income of 7,047.22 baht per rai, and the average cost of 3,771.11 baht per rai. 2) Farmers: 58.9 % grow Huai Bong 90 cassava, 96.7 % keep the variety themselves, 72.8 % use chemicals to soak the variety before planting for 5-10 minutes, and the average prepare the soil 2 times, 100.0 of raised-furrow plantings, 98.3% irrigated using rainwater. The average production volume of cassava was 4,335.00 kilograms per rai. 3) Farmers to extension needs of quality cassava stalks production at high level in terms of the knowledge and support and services at moderate level in terms of extension method. 4) Farmers of problems with support and services at high levels, most of which were due to marketing. Due to fluctuations in the price of produce. The project did not receive support from the government as it should have been. There was no definite source for purchasing produce. Farmers had suggestions for support at a high level, namely that there should be guaranteed prices for their produce. There should be a definite market to support it. The government should be measures or projects to support knowledge on quality cassava stalks production for farmers. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังของเกษตรกร 3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังคุณภาพของเกษตรกร 4) ปัญหา ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังคุณภาพของเกษตรกรการวิจัยเป็นเชิงสำรวจ ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในตำบลวังชะพลู อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ที่ขึ้นทะเบียนกับ กรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2565 จำนวน 325 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 63.3 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50.06 ปี ร้อยละ 63.3 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกมันสำปะหลัง เฉลี่ย 21.88 ปี ร้อยละ 75 เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. มีจำนวนพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 27.43 ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 7,047.22 บาทต่อไร่ มีต้นทุนเฉลี่ย 3,771.11 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกร ร้อยละ 58.9 ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 90 ร้อยละ 96.7 เก็บพันธุ์ไว้เอง ร้อยละ 72.8 ใช้สารเคมีแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก นาน 5-10 นาที มีการไถเตรียมดิน เฉลี่ย 2 ครั้ง ร้อยละ 100.0 มีการปลูกแบบยกร่อง ร้อยละ 98.3 มีการให้น้ำโดยอาศัยน้ำฝน มีปริมาณการผลิตผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 4,335.00 กิโลกรัมเฉลี่ยต่อไร่ 3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังคุณภาพอยู่ระดับมากในด้านองค์ความรู้ที่ต้องการส่งเสริม และด้านสนับสนุนและบริการ ระดับปานกลางในด้านวิธีการส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังคุณภาพ 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านสนับสนุนและบริการ อยู่ระดับมาก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากด้านการตลาด เนื่องจากความผันผวนของราคาผลผลิต ไม่ได้รับการสนับสนุนโครงการจากภาครัฐเท่าที่ควร และไม่มีแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน เกษตรกรมีข้อเสนอแนะด้านการสนับสนุนในระดับมาก คือ ควรมีการประกันราคาผลผลิต ควรมีการจัดหาตลาดรองรับที่แน่นอน และภาครัฐควรมีมาตรการหรือโครงการสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังแก่เกษตรกร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13688 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659002253.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น