กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13694
ชื่อเรื่อง: | การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Farm women group operations in Noen Maprang District of Phitsanulok Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันท์ สีสังข์ สุภาภรณ์ คลังตอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ เกษตรกร--ไทย--พิษณุโลก |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 2) การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 3) การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 4) ปัญหาการดำเนินงานและความต้องการในการสนับสนุนการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และ 5) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอ เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ปี 2566 จำนวน 9 กลุ่ม สมาชิกจำนวน 192 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ นอกจากนี้มีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 54.13 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.02 คน ระยะเวลาเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเฉลี่ย 10.78 ปี รายได้ในครัวเรือนทั้งหมดเฉลี่ย 223,960 บาท/ปี รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 150,730.77 บาท/ปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 73,690.77 บาท/ปี 2) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติเป็นประจำในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย การบริหารจัดการกลุ่ม การบริหารทุนและทรัพยากร การพัฒนาความรู้ความสามารถของสมาชิก กระบวนการพัฒนาสินค้าและบริการ และสาธารณประโยชน์/การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ไม่มีการปฏิบัติด้านสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 3) สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรการส่วนใหญ่มีส่วนร่วมเป็นประจำ 4 ด้าน ได้แก่ การวางแผน การดำเนินกิจกรรม การลงทุน และการรับผลประโยชน์ แต่มีการปฏิบัติเป็นบางครั้ง คือ การลงทุน/หุ้นในการทำกิจกรรมของกลุ่ม 4) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีปัญหาด้านการบริหารทุนและทรัพยากรอยู่ระดับมากที่สุด และมีความต้องการการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม การพัฒนาความรู้และความสามารถของสมาชิกและกรรมการอยู่ในระดับมาก 5) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ประกอบด้วย การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาการผลิตและการตลาด การเพิ่มศักยภาพสมาชิกกลุ่มให้สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ การสร้างอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและได้มาตรฐานโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13694 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659002378.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น