Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13699
Title: | แนวทางการส่งเสริมการเกษตรเพื่อการปรับตัวของเกษตรกรต่อสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งในอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว |
Other Titles: | Agricultural extension guideline for the adaptation of farmers toward the drought situation in Ta Praya District, Sa Kaeo Province |
Authors: | พลสราญ สราญรมย์ กัญธษิมา พิมพ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ การจัดการภัยแล้ง--ไทย--สระแก้ว |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพปัญหาและผลกระทบของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งด้านการทำการเกษตร เศรษฐกิจ และสังคม 3) การปรับตัวของเกษตรกรต่อสถานการณ์ภัยแล้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร 4) แนวทางส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ภัยแล้ง การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ 1) เกษตรกรในพื้นที่อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว จำนวน 11,073 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตร ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 205 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้ง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 3 คน จากเกษตรอำเภอ 1 คน และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงาน 2 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยการจัดหมวดหมู่ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.60 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก แหล่งน้ำส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนในการทำการเกษตร ได้รับข่าวสารภัยแล้งจากโทรทัศน์/วิทยุ มีที่ดินเป็นของตนเอง มีหนี้สิน แหล่งกู้ยืมคือ ธกส. 2) สภาพปัญหาด้านการเกษตรพบว่า เกษตรกรขาดแคลนน้ำเมื่อเกิดภัยแล้ง ด้านเศรษฐกิจ พบว่า เกษตรกรได้ผลตอบแทนจากการผลิตในรอบปีลดลง ด้านสังคม พบว่า เกษตรกรมีสุขอนามัยไม่ดีจากน้ำที่ไม่เพียงพอและไม่มีคุณภาพ สภาพผลกระทบด้านการเกษตร พบว่า แหล่งน้ำในธรรมชาติตื้นเขิน ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ราคาผลผลิตลดลงเนื่องจากผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ด้านสังคม พบว่า เกิดความล่าช้าของกระบวนการทำงานในภาครัฐ 3) การปรับตัวด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร พบว่า เกษตรกรมีการใช้น้ำอย่างประหยัด ด้านเศรษฐกิจ พบว่า เกษตรกรมีการปรับตัวโดยหารายได้จากการประกอบอาชีพเสริม และด้านสังคม พบว่า เกษตรกรมีการปรับตัวโดยรับฟังข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยแล้งอย่างสม่ำเสมอ 4) แนวทางการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ภัยแล้ง ได้แก่ การส่งเสริมเรื่องการใช้ดิน น้ำ ปุ๋ย การจัดการแรงงาน การจัดการเงินทุน การจัดการด้านการผลิตและการตลาดอย่างเหมาะสมเป้าหมาย โดยตัวชี้วัดความสำเร็จของแนวทางการส่งเสริมการเกษตรวัดได้จากทรัพยากรเกษตร สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันของเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13699 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659002568.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.