กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13714
ชื่อเรื่อง: | Success Factors for Robusta Coffee Production Management of Robusta Coffee Collaborative Farming Members at Village 7 Lamliang Sub-district, Kra Buri District, Ranong Province ปัจจัยความสำเร็จการจัดการการผลิตกาแฟโรบัสต้าของสมาชิกแปลงใหญ่กาแฟหมู่ 7 ตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Santipong Boriboon สันติพงษ์ บริบูรณ์ Sujja Banchongsiri สัจจา บรรจงศิริ Sukhothai Thammathirat Open University Sujja Banchongsiri สัจจา บรรจงศิริ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การจัดการการผลิตกาแฟ แปลงใหญ่กาแฟ ปัจจัยความสำเร็จ Coffee production management Collaborative Farming Success factors. |
วันที่เผยแพร่: | 9 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This research aimed to study (1) the coffee production management of robusta coffee collaborative farming group members at Village 7, Lamliang Sub-district, Kra Buri District, Ranong Province, (2) the problems and suggestions for production management of robusta coffee collaborative farming members at Village 7, and (3) the success factors in robusta coffee production management of robusta coffee collaborative farming members.The research used mixed methods. The quantitative research was done on a population of 30 farmers in the robusta coffee collaborative farming group members at Village 7 Lamliang Sub-district, Kra Buri District, Ranong Province, registered with the Kra Buri District Agriculture Office in 2023. A questionnaire was used to collect data from the total population. For the qualitative research, the group of informants consisted of robusta coffee farmers, community leaders and related agricultural scholars (total 32 informants) and data were collected through group meetings using a data collection form. Quantitative data were analyzed with descriptive statistics, including frequency, percentage, and mean, and for qualitative data, content analysis was used. The results showed that 1) the management of robusta coffee production of robusta coffee collaborative farming members followed the principles of good agricultural practices at eight stages. 2) As for problems and suggestions in the management of robusta coffee production, the main problem encountered was a labor shortage for harvesting. Farmers solved the problem by combining labor in harvesting. The other problem area was marketing. They solved this by getting training on product brand development, utilizing online sales and participating in coffee fairs. 3) Success factors in managing coffee production of the robusta coffee collaborative farming members include (1) internal factors, including the role of group leaders in planning and managing resources efficiently and using technology in production; and (2) external factors, including regular support in terms of funding and training from the public and private sectors, as well as the establishment of trade networks. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการการผลิตกาแฟโรบัสต้าของสมาชิกแปลงใหญ่กาแฟหมู่ 7 2) ปัญหาและการจัดการปัญหาในการจัดการการผลิตกาแฟโรบัสต้าของสมาชิกแปลงใหญ่หมู่ 7 3) ปัจจัยความสำเร็จการจัดการการผลิตกาแฟโรบัสต้าของสมาชิกแปลงใหญ่กาแฟหมู่ 7 การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ สมาชิกแปลงใหญ่กาแฟหมู่ 7 ตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอกระบุรี พ.ศ. 2566 จำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด โดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้า ผู้นำชุมชน และนักวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้องจำนวน 32 ราย โดยการประชุมกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการการผลิตกาแฟโรบัสต้าของสมาชิกแปลงใหญ่กาแฟมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีครบทั้ง 8 ขั้นตอน 2) ปัญหาและการจัดการปัญหาในการจัดการการผลิตกาแฟโรบัสต้าของสมาชิกแปลงใหญ่ ปัญหาที่พบ ได้แก่ การขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว เกษตรกรแก้ปัญหาโดยการรวมแรงงานในการเก็บเกี่ยว และปัญหาด้านการตลาด แก้ปัญหาโดยการอบรมพัฒนาตราสินค้า การขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้ากาแฟ และ 3) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการผลิตกาแฟโรบัสต้าของสมาชิกแปลงใหญ่ ประกอบด้วย (1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ บทบาทของผู้นำกลุ่มที่มีการวางแผนจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต การรวมกลุ่มที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนความรู้ และ (2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนและการฝึกอบรมจากภาครัฐและเอกชน อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการสร้างเครือข่ายการค้า |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13714 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659002907.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น