กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13715
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาในจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension in the use of information technology in land development of volunteered soil doctor in Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
วารุณี ก้อนทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
การพัฒนาที่ดิน--ไทย--ระยอง
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของหมอดินอาสาในจังหวัดระยอง 2) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาในจังหวัดระยอง 3) การได้รับและความต้องการการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหมอดินอาสาในจังหวัดระยอง และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาในจังหวัดระยอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการวิจัยนี้ คือ หมอดินอาสาในพื้นที่จังหวัดระยอง จำนวน 451 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดตัวอย่าง เท่ากับ 212 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัย พบว่า 1) หมอดินอาสาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นหมอดินอาสา ประจำหมู่บ้านและมีอาชีพเป็นเกษตรกรโดยหมอดินอาสามีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับ Agri-Map Online, LDD Soil Guide, LDD On Farm, LDD Zoning, ปุ๋ยรายแปลง, กดดูรู้ดิน, และดินออนไลน์ 2) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสา โดยส่วนใหญ่มีความสามารถในการใช้โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน เพื่อเรียนรู้ด้านการเกษตร โดยได้รับความรู้จากสื่อสังคมออนไลน์ กรมพัฒนาที่ดิน มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีการใช้แอปพลิเคชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ดิน 3) หมอดินอาสาส่วนใหญ่ได้รับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้าน Agri-Map Online ประเด็นข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ ด้าน LDD On Farm ประเด็นข้อมูลการจัดการดิน และในด้านวิธีการส่งเสริมได้รับการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีความต้องการในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและในด้านวิธีการส่งเสริมมีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ Agri-Map Online โดยเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) หมอดินอาสาพบปัญหาในแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ปัญหาด้านความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิธีการส่งเสริม ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศควรมีแนวทางในการส่งเสริมให้สามารถเข้าใจ เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้ง่าย มีการเผยแพร่เอกสารที่มีเนื้อหาไม่ซับซ้อน อ่านเข้าใจง่าย รวมถึงให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงผู้รับบริการเพื่อให้ข้อมูลและอธิบายการใช้งาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13715
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2669002095.pdf1.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น