Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13716
Title: โมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของยุวเกษตรกรในสถานศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
Other Titles: Extension of integrated learning model for agricultural accordance with the philosophy of sufficiency economy by school Young farmers in Lower Northeastern Region 1
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
ชีวรัตน์ ช่ำชอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
ทิพวรรณ ลิมังกูร
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
เกษตรกรรม--การศึกษาและการสอน
เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของยุวเกษตรกร 2) ผลสัมฤทธิ์ ปัญหาและข้อเสนอแนะการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) พัฒนาโมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมกับยุวเกษตรกร 4) ประเมินโมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในสถานศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์และสุรินทร์ ได้แก่ 1) นักเรียนที่เป็นยุวเกษตรกรของสถานศึกษาจำนวน 8,129 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้จำนวน 200 คน 2) ครูเกษตรจำนวน 519 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 50 คน 3) ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 16 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับและวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ยุวเกษตรกร ร้อยละ 61.5 ได้รับความรู้ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูเกษตร ร้อยละ 64.0 ได้รับความรู้ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูเกษตรมีการจัดแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซี่งยุวเกษตรกรเห็นด้วยในระดับปานกลาง โดยครูเกษตรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความสามารถด้านการใช้ทักษะชีวิตสอดคล้องกับความต้องการรับการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะทางการเกษตรและการทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของยุวเกษตรกร และต้องการการส่งเสริมการเรียนรู้มากในด้านการดำเนินการของครูเกษตร 2) ยุวเกษตรกรเห็นด้วยในระดับมากกับการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยเห็นด้วยกับผลสัมฤทธิ์ด้านสมดุล 4 มิติ ได้แก่ ผลด้านเศรฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในชุมชน และผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ต่อผู้เรียน ยุวเกษตรกรมีปัญหาการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านวิชาการและองค์ความรู้ โดยเสนอแนะให้จัดกิจกรรมอภิปรายและสรุปความรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนแสดงความสามารถด้านการใช้ทักษะชีวิต ส่วนครูเกษตรมีข้อเสนอแนะในประเด็นเดียวกันว่า ควรมีการวัดผลด้านความรู้ ทักษะและด้านมุมมองบุคลิกภาพ ส่งเสริมให้นักเรียนแสดงความสามารถด้านการใช้ทักษะชีวิตการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ส่วนการดำเนินการของครูเกษตร พบว่าครูเกษตรส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตัวเอง ฝึกให้แก้ปัญหาทางการเกษตรด้วยวิธีการที่หลากหลาย ด้านเนื้อหาความรู้ เน้นให้ได้เรียนรู้เนื้อหาด้านการเกษตร และการใช้ช่องทางการส่งเสริมการเรียนรู้ เน้นการเรียนรู้จากสื่อ วีดีทัศน์ ผู้ประกอบอาชีพการเกษตร ผลการดำเนินการกับผู้เรียนพบว่ายุวเกษตรกรเกิดความรู้เกี่ยวกับการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต พัฒนางานเกษตรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และมีการตัดสินใจในงานด้านการเกษตรบนความพอเพียง 3) โมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับยุวเกษตรกรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) แหล่งความรู้ คือครูเกษตรได้ใช้การบริหารจัดการภายใต้โครงการยุวเกษตรกรในสถานศึกษาและมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรให้การสนับสนุนการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกรในสถานศึกษา โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ฝึกให้แก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย ส่งเสริมให้อภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้กัน และประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน (2) เนื้อหาความรู้ เน้นการเรียนรู้ด้านการผลิตทางเกษตร การแปรรูปและการตลาด การบริโภคอาหารปลอดภัย การจัดการทรัพยากรดิน น้ำ จุลินทรีย์เพื่อการผลิต การทำเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชากับการเกษตร และเกษตรทฤษฎีใหม่ (3) ช่องทางการเรียนรู้มีการใช้ช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย (4) ผลการดำเนินการกับผู้เรียน ยุวเกษตรกรเข้าใจการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต พัฒนาตัวเองและรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ผลที่เกิดต่อชุมชนและผลสมดุล 4 มิติ มีการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตร และสมรรถนะทางการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผลการประเมินโมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่าทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม เป็นประโยชน์ และเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13716
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4579000052.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.