Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13718
Title: | โมเดลการส่งเสริมการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตมะพร้าวในภาคตะวันออก |
Other Titles: | Extension model of sustainable coconut pest control for coconut farmers in the Eastern Region |
Authors: | เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ สุรีรัตน์ วงษ์ชื่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จินดา ขลิบทอง สุรพล เศรษฐบุตร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ต้นมะพร้าว--โรคและศัตรูพืช--การควบคุม มะพร้าว--การปลูก--ไทย (ภาคตะวันออก) |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การผลิตมะพร้าวและการใช้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูมะพร้าวของเกษตรกร 2) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) แนวทางการส่งเสริมการควบคุมศัตรูมะพร้าวของเกษตรกร 4) พัฒนาโมเดลการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกร และ 5) ประเมินประสิทธิภาพของโมเดลการส่งเสริมการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากร คือ 1) เกษตรกรผู้เชี่ยวชาญในการปลูกมะพร้าว จำนวน 12 ราย 2) เกษตรกรผู้ร่วมโครงการแปลงใหญ่มะพร้าว จำนวน 257 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 156 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย 3)นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 6 ราย 4) เกษตรกร คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวมากกว่า 10 ปี จำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และทำแบบประเมิน ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ผลิตมะพร้าวโดยเตรียมต้นพันธุ์ด้วยตนเอง แปลงปลูกมะพร้าวแกง ปลูกแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส อายุมะพร้าวเฉลี่ย 33.33 ปี ใส่ปุ๋ยขี้ไก่และปุ๋ยเคมี โดยการหว่าน ไม่ตัดแต่งทางมะพร้าว กำจัดวัชพืชโดใช้เครื่องตัดหญ้า รู้จักความสำคัญลักษณะการทำลายด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว หนอนหัวดำมะพร้าว และแมลงดำหนามมะพร้าว เก็บเกี่ยวโดยใช้ไม้สอย จำหน่ายทันที และจำหน่ายทั้งเปลือก มีการใช้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูมะพร้าวในระดับปานกลาง แต่มีความต้องการส่งเสริมการใช้แตนเบียนบราคอนกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว และกําจัดต้นมะพร้าวที่ยืนต้นตายในระดับมาก มีความรู้ด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยใช้วิธีเขตกรรม ชีววิธี และการใช้สารเคมีร่วมกันในการกำจัดศัตรูมะพร้าว โดยได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) เกษตรกรปฏิบัติตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมาก และมีความต้องการส่งเสริมด้านการเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพ ตรงตามพันธุ์ และสำรวจการทำลายของศัตรูมะพร้าว อยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นการบันทึกข้อมูลมีความต้องการในระดับมาก 3) แนวทางการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการโดยใช้สื่อแผ่นพับ คู่มือ โปสเตอร์ ผ่านวิธีการสาธิต และการฝึกปฏิบัติ 4) โมเดลการส่งเสริมการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกร มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) การบริหารสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย (2) การส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อความยั่งยืน (3) การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี และ (4) การกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี พัฒนาเป็นโมเดลการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืน A-KTM-F-S จำนวน 6 ส่วน ประกอบด้วย นักส่งเสริมการเกษตร องค์ความรู้ เทคโนโลยี วิธีการเรียนรู้ เกษตรกร และความยั่งยืน 5) ประสิทธิภาพของโมเดลอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านความเหมาะสม ความเป็นได้ในการนำไปปฏิบัติ ความสอดคล้องกับบริบท และความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (่ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13718 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
4609000031.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.