Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13724
Title: การลงทุนทางการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษารัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Educational Investment on Higher Vocational Certificate Between Agriculture and Industry of Government Vocational Education Institutions in the Northeastern Region
Authors: พัชรี ผาสุข
พิศมัย จันทร์เพ็ชร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อภิญญา วนเศรษฐ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การระดมเงินทุนทางการศึกษา
โรงเรียนอาชีวศึกษา--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)--กองทุนและทุนการศึกษา
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้ดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนการลงทุนทางการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ 2) เปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนทางการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษารัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประชากรในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของสถานศึกษาอาชีวศึกษารัฐบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด จำนวน 90 แห่ง รวมทั้งสิ้น 54,697 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาในสาขาวิชาเกษตรกรรมกับวิชาอุตสาหกรรม ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 430 คน ซึ่งได้จากการคำนวณตามวิธีของ Taro Yamane ณ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และแบบจำลองถดถอยด้วยวิธีโมเมนต์ทั่วไป เพื่อประมาณค่าการลงทุนและผลตอบแทนของการทางการศึกษาผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 19 ปี อยู่ในชั้นปีที่ 2 โดยมีแหล่งรายได้จากผู้ปกครอง มีการลงทุนทางตรง ทางการศึกษาในสาขาวิชาเกษตรเฉลี่ยอยู่ที่ 6,453.30 บาทต่อเดือน ขณะที่สาขาวิชาอุตสาหกรรมเฉลี่ยอยู่ที่ 10,432.72 บาทต่อเดือน โดยประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการเรียน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับการเรียน ส่วนการลงทุนทางอ้อม ทางการศึกษาในสาขาวิชาเกษตรเฉลี่ยอยู่ที่  3,109.43 บาทต่อเดือน และสาขาวิชาอุตสาหกรรมเฉลี่ยอยู่ที่ 4,697.53 บาทต่อเดือน ประกอบด้วย ค่าครองชีพ ในระหว่างเรียน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และ 2) ผลตอบแทนสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ พบว่า สาขาวิชาเกษตรมีผลตอบแทนสุทธิอยู่ที่ 17,738.79 บาทต่อเดือน ขณะที่สาขาวิชาอุตสาหกรรมมีผลตอบแทนสุทธิอยู่ที่ 19,767.82 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าสาขาวิชาเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13724
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2616000648.pdf862.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.