Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13729
Title: รูปแบบการออมที่เหมาะสมเพื่อวัยเกษียณของพนักงานภาครัฐและพนักงานภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Appropriate Saving Model for Retirement of Government and Private  Sector Employees in Bangkok Metropolis
Authors: พัชรี ผาสุข
รุ่งนภา ทวีชัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อภิญญา วนเศรษฐ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
รายได้การเกษียณอายุ
การออมกับการลงทุน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมเพื่อวัยเกษียณของพนักงานภาครัฐและพนักงานภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษารูปแบบการออมที่เหมาะสมเพื่อวัยเกษียณของพนักงานภาครัฐและพนักงานภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครประชากรในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานภาครัฐและพนักงานภาคเอกชนอายุระหว่าง 18    ถึง 60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 5,494,932 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 445 คน คำนวณด้วยสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนประกอบด้วย การสุ่มแบบโควตา และวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิตเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์รูปแบบการออมที่เหมาะสมด้วยแบบจำลองการรอดชีพผลการวิจัยพบว่า 1)  พนักงานภาครัฐส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 10,001 ถึง 30,000 บาท มีการออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์มากที่สุด รองลงมาคือ ธนาคารพาณิชย์และหน่วยบริหารจัดการกองทุนรวม โดยมีสัดส่วนเงินออมประมาณ ร้อยละ 1 ถึง 5 ของรายได้ต่อเดือน พนักงานภาคเอกชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  มีอายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 10,001 ถึง 30,000 มีการออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ของหน่วยงานมากที่สุด รองลงมาคือ ธนาคารพาณิชย์ และ ซื้อทองคำ/เครื่องประดับ โดยมีสัดส่วนเงินออมประมาณ ร้อยละ 1 ถึง 5 ของรายได้ต่อเดือน  2) พนักงานภาครัฐมีรูปแบบการออมที่เหมาะสมมากที่สุด  คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณเงินออมเพิ่มขึ้น 5.192 เท่า เมื่อเทียบกับการออมในรูปแบบอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ขณะที่พนักงานภาคเอกชน มีรูปแบบการออมที่เหมาะสมมากที่สุด คือ การซื้อกองทุนรวม ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณเงินออมเพิ่มขึ้น 3.135  เท่า เมื่อเทียบกับการออมในรูปแบบอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13729
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2636000271.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.