กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13729
ชื่อเรื่อง: Appropriate Saving Model for Retirement of Government and Private  Sector Employees in Bangkok Metropolis
รูปแบบการออมที่เหมาะสมเพื่อวัยเกษียณของพนักงานภาครัฐและพนักงานภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: RUNGNAPA TAWEECHAI
รุ่งนภา ทวีชัย
Padcharee Phasuk
พัชรี ผาสุข
Sukhothai Thammathirat Open University
Padcharee Phasuk
พัชรี ผาสุข
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การออมเพื่อวัยเกษียณ รูปแบบการออม แบบจำลองการรอดชีพ
saving for retirement
saving format
survival model
วันที่เผยแพร่:  19
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This research aimed to study 1) the retirement savings behavior of government employees and private sector employees in Bangkok; and 2) the appropriate savings patterns for retirement age of government employees and private sector employees in Bangkok.The population referred to the government employees and private sector employees between the ages of 18 and 60 in Bangkok totaling 5,494,932 people.  The sample group consisted of 445 people, calculated with the Taro Yamane formula with an error of 0.05. The research instrument was a questionnaire. Data were collected using a multi-step random sampling method. Quota sampling and random sampling methods were used. Data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation. Inferential statics includes analyzing appropriate savings models with survival models.The analyses showed that 1) most government employees were female aged between 31-40 years, singles with bachelor's degree level and the monthly income of 10,001 to 30,000 baht; they put most of their savings with savings cooperatives, followed by commercial banks and mutual fund management units. The savings proportion is approximately 1 to 5 percent of the monthly income. Most private sector employees were  male aged between 31-40 years, singles with bachelor's degree level and the monthly income of 10,001 to 30,000 baht; they put most of their savings with the agency's savings cooperative, followed by commercial banks and buying gold/jewelry. The savings proportion was approximately 1 to 5 percent of the monthly income. 2) Government employees had the most appropriate form of savings - savings cooperatives -which resulted in an increase in the amount of savings 5.192 times compared to other forms of savings, with statistical significance at the 0.01 level. For the private sector employees, the most appropriate form of savings was buying mutual funds which resulted in a 3.135 times increase in the amount of savings compared to other forms of savings, with statistical significance at the 0.01 level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมเพื่อวัยเกษียณของพนักงานภาครัฐและพนักงานภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษารูปแบบการออมที่เหมาะสมเพื่อวัยเกษียณของพนักงานภาครัฐและพนักงานภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครประชากรในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานภาครัฐและพนักงานภาคเอกชนอายุระหว่าง 18    ถึง 60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 5,494,932 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 445 คน คำนวณด้วยสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนประกอบด้วย การสุ่มแบบโควตา และวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิตเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์รูปแบบการออมที่เหมาะสมด้วยแบบจำลองการรอดชีพผลการวิจัยพบว่า 1)  พนักงานภาครัฐส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 10,001 ถึง 30,000 บาท มีการออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์มากที่สุด รองลงมาคือ ธนาคารพาณิชย์และหน่วยบริหารจัดการกองทุนรวม โดยมีสัดส่วนเงินออมประมาณ ร้อยละ 1 ถึง 5 ของรายได้ต่อเดือน พนักงานภาคเอกชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  มีอายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 10,001 ถึง 30,000 มีการออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ของหน่วยงานมากที่สุด รองลงมาคือ ธนาคารพาณิชย์ และ ซื้อทองคำ/เครื่องประดับ โดยมีสัดส่วนเงินออมประมาณ ร้อยละ 1 ถึง 5 ของรายได้ต่อเดือน  2) พนักงานภาครัฐมีรูปแบบการออมที่เหมาะสมมากที่สุด  คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณเงินออมเพิ่มขึ้น 5.192 เท่า เมื่อเทียบกับการออมในรูปแบบอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ขณะที่พนักงานภาคเอกชน มีรูปแบบการออมที่เหมาะสมมากที่สุด คือ การซื้อกองทุนรวม ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณเงินออมเพิ่มขึ้น 3.135  เท่า เมื่อเทียบกับการออมในรูปแบบอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13729
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2636000271.pdf1.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น