กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13738
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลิตภัณฑ์ภาคของสาขาการเกษตรในภาคใต้ของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Influencing Gross Regional Product of Agricultural Sector in Southern Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพล จตุพร
ซูรีต้า ดือราแม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สินค้าเกษตร--ไทย (ภาคใต้)
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจทางการเกษตร และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลิตภัณฑ์ภาคของสาขาการเกษตรในภาคใต้ของประเทศไทยการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่มีลักษณะเป็นอนุกรมเวลารายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 – 2565 รวมทั้งสิ้น จำนวน 26 ปี ตัวแปรที่ใช้ศึกษา คือ ผลิตภัณฑ์ภาคของสาขาเกษตรในภาคใต้ เนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร แรงงานภาคการเกษตร ผลผลิตยางพารา ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ผลผลิตทุเรียน และผลผลิตกุ้ง ปริมาณน้ำฝนสะสม อุณหภูมิเฉลี่ย และจำนวนเงินให้สินเชื่อในภาคใต้ และมีการวิเคราะห์รูปแบบการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีการลดรูปตัวแปรภายใต้ฟังก์ชันลอการิทึมผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจทางการเกษตรในภาคใต้ของประเทศไทย ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตรในภาคใต้มีมูลค่าเท่ากับ 176,340 ล้านบาท และในปี 2566 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า ผลผลิตเกษตรสำคัญที่ขยายตัวอย่างชัดเจนคือ ทุเรียน และกุ้ง ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.5 และ 3.2 ตามลำดับ ในขณะที่ปาล์มน้ำมันและยางพารามีผลผลิตลดลงร้อยละ 1.6 และ 1.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ แรงงานภาคใต้ในภาคการเกษตรมีจำนวน 2.14  ล้านคน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในภาคใต้คือ 2,244 มิลลิเมตร และอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 28.5 องศาเซลเซียส ปริมาณเงินให้สินเชื่อในภาคใต้ลดลงร้อยละ 2.38 จากปี 2565 โดยอยู่ที่ 8,980,470 ล้านบาท  2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลิตภัณฑ์ภาคของสาขาการเกษตรในภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ แรงงานภาคการเกษตร ผลผลิตกุ้ง อุณหภูมิเฉลี่ย และจำนวนเงินให้สินเชื่อในภาคใต้ ซึ่งทุกตัวแปรดังกล่าวส่งผลในเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตรในภาคใต้ของประเทศไทย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13738
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2656000268.pdf1.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น