Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13743
Title: Performance Analysis and Reorganization of Thai Airways International Public Company Limited
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและการฟื้นฟูกิจการ ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
Authors: Chatchai Chantajinda
ชัชชัย ฉันทจินดา
Apinya Wanaset
อภิญญา วนเศรษฐ
Sukhothai Thammathirat Open University
Apinya Wanaset
อภิญญา วนเศรษฐ
[email protected]
[email protected]
Keywords: บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) การฟื้นฟูกิจการ อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ SWOT
Thai Airways International Public Company Limited
Reorganization
Financial ratio
SWOT analysis
Issue Date:  21
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This study analyzes the operational performance and reorganization of Thai Airways International Public Company Limited across three periods: (1) Pre-reorganization and pre-COVID-19 crisis (2018-2019),  (2) Reorganization During the COVID-19 Crisis (2020-2021) and (3) Post-COVID-19 Reorganization (2022-2023).                         Financial ratio analysis was conducted, which includes 1) liquidity ratio, 2) financial structure ratio, 3) profitability ratio, 4) asset management efficiency ratio, and 5) market value ratio.  The financial ratio analysis was also compared with two airlines in Southeast Asia: Philippines Airlines and Singapore Airlines. SWOT analysis, and informal in-depth interviews which were conducted with a sample of 20 individuals, specifically selected through a purposive sampling method.                        Results showed that Philippine Airlines had financial ratios similar to Thai Airways, while Singapore Airlines, with a stronger financial foundation and structure, had better financial ratios than both. The performance analysis of Thai Airways, conducted through financial ratio analysis, SWOT analysis, and in-depth interviews, revealed that, during the first period (2018-2019), Thai Airways, as a state enterprise, had to operate under bureaucratic constraints, leading to inefficient asset management and overstaffing. During the second period (2020-2021), Thai Airways ceased to be a state enterprise due to severe liquidity problems and overwhelming debt. This situation necessitated the company entering the rehabilitation process under bankruptcy law. The airline implemented efficiency measures such as reducing personnel, selling underutilized assets, and converting planes for cargo transport to improve cash flow. During the last period (2022-2023), under the rehabilitation plan, Thai Airways followed the restructuring measures by increasing registered capital to support business expansion. The company continued selling underutilized assets to reduce maintenance costs. The study of Thai Airways' six-year performance revealed that the company's financial difficulties were mainly due to acquiring assets through debt and failing to use them efficiently. The high debt-to-equity ratio caused liquidity problems, resulting in continuous losses. During its time as a state enterprise, external interventions and bureaucratic processes hindered effective management and competitiveness. However, during the rehabilitation phase, the company showed improvement by following the reorganization plan..
การศึกษาการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและการฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของการบินไทย โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ (1) ช่วงก่อนเข้าฟื้นฟูกิจการและก่อนวิกฤต โควิด 19 (ปี 2561-2562) (2) ช่วงเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ในสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 (ปี 2563–2564) และ (3) ช่วงอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการภายหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 (ปี 2565-2566)วิธีการศึกษาโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินได้แก่ 1) อัตราส่วนสภาพคล่อง 2) อัตราส่วนโครงสร้างทางการเงิน  3) อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร 4) อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ และ 5) อัตราส่วนมูลค่าทางการตลาด เปรียบเทียบกับสายการบินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ อีก 2 สายการบินคือ สายการบินฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ และสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ นอกจากนี้ได้วิเคราะห์ SWOT เฉพาะการบินไทย และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน  20 คนผลการศึกษาอัตราส่วนทางการเงินการบินไทยเปรียบเทียบกับฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ และสิงคโปร์แอร์ไลน์ พบว่าฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ มีอัตราส่วนทางการเงินใกล้เคียงกับการบินไทย และสิงคโปร์แอร์ไลน์จากปัจจัยพื้นฐานและโครงสร้างทางการเงินที่ดีจึงทำให้อัตราส่วนทางการเงินดีกว่าอีก 2 สายการบิน ส่วนผลการดำเนินงานของการบินไทยจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ SWOT และการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า (1) ช่วงก่อนเข้าฟื้นฟูกิจการและก่อนวิกฤตโควิด 19 (ปี 2561-2562) การบินไทยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องดำเนินการตามระบบราชการ การบริหารทรัพย์สินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งจำนวนบุคลากรที่มีจำนวนมากเกินไป (2) ช่วงเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ในสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 (ปี 2563-2564) พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ จากการขาดสภาพคล่องทางการเงินในขั้นวิกฤตอยู่ในสภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวจึงเป็นโอกาสและเหตุผลสำคัญในการต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้กฎหมายล้มละลาย ทำให้ได้รับการพักชำระหนี้ และเพิ่มประสิทธิภาพองค์การด้วยการลดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะจำนวนบุคลากร จำหน่ายทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปรับการใช้เครื่องบินเป็นขนส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มกระแสเงินสดรับ (3) ช่วงอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการภายหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 (ปี 2565-2566) ภายใต้การบริหารของผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการต้องปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการ ด้วยการเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อรองรับการขยายงาน อีกทั้งยังคงขายทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา จากการศึกษาผลการดำเนินงานของการบินไทยทั้ง 6 ปี พบว่าปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของการบินไทย เกิดจากการได้มาของทรัพย์สินจากการก่อหนี้และใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้อัตราส่วนโครงสร้างทางการเงินที่มีหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวนมาก ส่งผลให้การบินไทยขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นผลให้การดำเนินงานขาดทุนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ช่วงที่เป็นรัฐวิสาหกิจการบริหารจัดการถูกแทรกแซงจากภายนอกองค์การ และติดอยู่กับระบบราชการทำให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดผู้แข่งขันน้อยรายได้ ส่วนช่วงที่อยู่ในระหว่างแผนฟื้นฟูกิจการ สามารถดำเนินการได้ดีกว่าในแผนฟื้นฟูกิจการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13743
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2656000482.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.