Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13743
Title: การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและการฟื้นฟูกิจการ ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Performance Analysis and Reorganization of Thai Airways International Public Company Limited
Authors: อภิญญา วนเศรษฐ
ชัชชัย ฉันทจินดา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วสุ สุวรรณวิหค
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษศาสตร์--วิทยานิพนธ์
บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)--การฟื้นฟู
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและการฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของการบินไทย โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้ (1) ช่วงก่อนเข้าฟื้นฟูกิจการและก่อนวิกฤต โควิด 19 (ปี 2561-2562) (2) ช่วงเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ในสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 (ปี 2563–2564) และ (3) ช่วงอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการภายหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 (ปี 2565-2566)วิธีการศึกษาโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินได้แก่ 1) อัตราส่วนสภาพคล่อง 2) อัตราส่วนโครงสร้างทางการเงิน  3) อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร 4) อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ และ 5) อัตราส่วนมูลค่าทางการตลาด เปรียบเทียบกับสายการบินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ อีก 2 สายการบินคือ สายการบินฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ และสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ นอกจากนี้ได้วิเคราะห์ SWOT เฉพาะการบินไทย และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน  20 คนผลการศึกษาอัตราส่วนทางการเงินการบินไทยเปรียบเทียบกับฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ และสิงคโปร์แอร์ไลน์ พบว่าฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ มีอัตราส่วนทางการเงินใกล้เคียงกับการบินไทย และสิงคโปร์แอร์ไลน์จากปัจจัยพื้นฐานและโครงสร้างทางการเงินที่ดีจึงทำให้อัตราส่วนทางการเงินดีกว่าอีก 2 สายการบิน ส่วนผลการดำเนินงานของการบินไทยจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ SWOT และการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า (1) ช่วงก่อนเข้าฟื้นฟูกิจการและก่อนวิกฤตโควิด 19 (ปี 2561-2562) การบินไทยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องดำเนินการตามระบบราชการ การบริหารทรัพย์สินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งจำนวนบุคลากรที่มีจำนวนมากเกินไป (2) ช่วงเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ในสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 (ปี 2563-2564) พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ จากการขาดสภาพคล่องทางการเงินในขั้นวิกฤตอยู่ในสภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวจึงเป็นโอกาสและเหตุผลสำคัญในการต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้กฎหมายล้มละลาย ทำให้ได้รับการพักชำระหนี้ และเพิ่มประสิทธิภาพองค์การด้วยการลดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะจำนวนบุคลากร จำหน่ายทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปรับการใช้เครื่องบินเป็นขนส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มกระแสเงินสดรับ (3) ช่วงอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการภายหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 (ปี 2565-2566) ภายใต้การบริหารของผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการต้องปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการ ด้วยการเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อรองรับการขยายงาน อีกทั้งยังคงขายทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา จากการศึกษาผลการดำเนินงานของการบินไทยทั้ง 6 ปี พบว่าปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของการบินไทย เกิดจากการได้มาของทรัพย์สินจากการก่อหนี้และใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้อัตราส่วนโครงสร้างทางการเงินที่มีหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวนมาก ส่งผลให้การบินไทยขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นผลให้การดำเนินงานขาดทุนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ช่วงที่เป็นรัฐวิสาหกิจการบริหารจัดการถูกแทรกแซงจากภายนอกองค์การ และติดอยู่กับระบบราชการทำให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดผู้แข่งขันน้อยรายได้ ส่วนช่วงที่อยู่ในระหว่างแผนฟื้นฟูกิจการ สามารถดำเนินการได้ดีกว่าในแผนฟื้นฟูกิจการ
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13743
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2656000482.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.