Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13745
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการเลิกสูบบุหรี่ของผู้รับบริการในคลินิกช่วยเลิกยาสูบ ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Factors Effecting Success of Smoking Quit of Clients at Smoking Cessation Clinic in Bangkok Metropolitans |
Authors: | วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล จารุณีย์ สุธรรมวงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จินตนา ยูนิพันธ |
Keywords: | ปัจจัยทำนาย ความสำเร็จของการเลิกสูบบุหรี่ ผู้รับบริการ คลินิกช่วยเลิกยาสูบ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยทำนาย ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคจากการสูบบุหรี่ การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกสูบบุหรี่ ความรู้เกี่ยวกับโรคจากการสูบบุหรี่และวิธีการเลิกสูบบุหรี่ และสิ่งกระตุ้นให้เลิกสูบบุหรี่ 2) ความสำเร็จของการเลิกสูบบุหรี่ และ 3) อิทธิพลของปัจจัยทำนายต่อความสำเร็จของการเลิกสูบบุหรี่ของผู้รับบริการในคลินิกช่วยเลิกยาสูบ ในกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการเลิกยาสูบในคลินิกช่วยเลิกยาสูบ ในกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการส่งต่อศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600) ระหว่างเดือน ตุลาคม 2564-กันยายน 2565 อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 228 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ 7 ตัว ส่วนที่ 3 ความสำเร็จของการเลิกสูบบุหรี่ แบบสอบถามส่วนที่ 2 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .73-1 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค .70-.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 1) มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการสูบบุหรี่และการรับรู้ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับสูงมาก มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคจากการสูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกสูบบุหรี่ ความรู้เกี่ยวกับโรคจากการสูบบุหรี่และวิธีการเลิกสูบบุหรี่ และสิ่งกระตุ้นให้เลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับสูง มีการรับรู้อุปสรรคในการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง 2) มีความสำเร็จของการเลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 32.23 และ 3) ปัจจัยทำนายที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเลิกสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคจากการสูบบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคในการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกสูบบุหรี่ ความรู้เกี่ยวกับโรคจากการสูบบุหรี่และวิธีการเลิกสูบบุหรี่ และสิ่งกระตุ้นให้เลิกสูบบุหรี่ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13745 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2585100593.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.