Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13746
Title: | ผลของโปรแกรมการสื่อสารเรื่องเพศต่อทัศนคติและทักษะการสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น ตำบลเสอเพลอ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี |
Other Titles: | Effects of the sexual communication program on sexual attitudes and communication skills of parents female junior high school students, Soe phloe Subdistrict, Kumphawapi District, Udon Thani Province |
Authors: | นภาเพ็ญ จันทขัมมา พรเพ็ญ โสดา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ปิยอร วจนะทินภัทร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์ เพศศึกษา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารเรื่องเพศต่อทัศนคติและการสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนในตำบลเสอเพลอ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งถูกสุ่มตามเกณฑ์การคัดเข้าแบบเจาะจง เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 25 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาทักษะการสื่อสารเรื่องเพศต่อทัศนคติและทักษะการสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งออกแบบกิจกรรมโดยใช้แนวคิดองค์ประกอบการพัฒนาทักษะการสื่อสารของเดวิด เค เบอร์โล กิจกรรมประกอบด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบรรยายให้ความรู้ การแสดงบทบาทสมมติ ถอดบทเรียนเหตุการณ์สมมติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์พฤติกรรมของบุตรหลาน โดยมีการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดจำนวน 5 ครั้ง ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ และได้ใช้ แบบสอบถามทัศนคติในการสื่อสารเรื่องเพศและทักษะการสื่อสารเรื่องเพศ ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .92 และ .95 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .79 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีทัศนคติการสื่อสารเรื่องเพศและทักษะการสื่อสารเรื่องเพศดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับความพึงพอใจในโปรแกรมการสื่อสารเรื่องเพศในระดับดี |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13746 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2605100029.pdf | 11.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.