กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13750
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยแอปพลิเคชันผ่านสมาร์ทโฟน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a Triage Model for Emergency Patients Using a Smartphone Application |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กชกร เจตินัย อนุสรณ์ อุระ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ อารี ชีวเกษมสุข |
คำสำคัญ: | การคัดแยกผู้ป่วย บริการเวชศาสตร์ฉุกเฉิน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน 2) พัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยแอปพลิเคชันผ่านสมาร์ทโฟน และ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินฯ ที่พัฒนาขึ้น การวิจัยและพัฒนานี้มีกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 ระยะการวิจัย คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ให้ข้อมูลหลักได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยแพทย์ 1 คน พยาบาลหัวหน้างาน 1 คน และพยาบาล 6 คน รวม 8 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยแอปพลิเคชันผ่านสมาร์ทโฟน เป็นกลุ่มตัวอย่างเดียวกันกับระยะที่ 1 และระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินที่พัฒนาขึ้น เป็นเวชระเบียนผู้ป่วยฉุกเฉินได้จาการสุ่มเลือกอย่างเป็นระบบ คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G power จำนวน 184 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติทดสอบแมน วิทนีย์ ยู ผลการศึกษา มีดังนี้ 1) สถานการณ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้แก่ (1) ด้านโครงสร้าง การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินไม่ครอบคลุมภาวะฉุกเฉิน ระบบสารสนเทศยังไม่เชื่อมโยงกัน พยาบาลขาดความรู้ทักษะความชำนาญในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน (2) ด้านกระบวนการ กระบวนการคัดแยกพยาบาลปฏิบัติแตกต่างไม่เป็นทิศทางเดียวกัน และ (3) ด้านผลลัพธ์ การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินไม่ถูกต้องและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 2) รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินที่พัฒนาขึ้น มีลักษณะดังนี้ (1) ด้านโครงสร้าง เป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์โฟนคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินตามเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ขั้นตอนการใช้งานง่าย และใช้รายการเลือกแบบดึงลงภายใต้ชุดคำสั่งของการแก้ปัญหา (2) ด้านกระบวนการ วิธีการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินทำได้ง่ายขึ้นตามรายการที่กำหนดในแอปพลิเคชัน (3) ด้านผลลัพธ์ คือ ประเมินระยะเวลาและความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน และ 3) ผลการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินที่พัฒนาขึ้นฯใช้ระยะเวลาสั้นกว่า 50.85 วินาทีเมื่อเปรียบเทียบกับการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินรูปแบบเดิม 2.36 เท่า (120 วินาที) และการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินนี้มีความถูกต้องมากกว่ารูปแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารทางการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13750 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2615100100.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น