กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13752
ชื่อเรื่อง: การจัดการความรุนแรงในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Management of Violence in the Emergency Department of Rayong Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยศพล เหลืองโสมนภา
จริยา กิตติดิลก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล
คำสำคัญ: ความรุนแรงต่อบุคลากรทางการแพทย์ -- ไทย -- ระยอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการบริหารทางการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความรุนแรงในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลระยองการวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสัมภาษณ์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการความรุนแรงที่แผนกฉุกเฉินตามการรับรู้ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน 10 คน  ระยะที่ 2 การประเมินการจัดการความรุนแรงในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลระยองของพยาบาลในแผนกฉุกเฉิน 24 คน ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) ข้อมูลทั่วไป (2) การจัดการความรุนแรงในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลระยอง และ (3) ข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการจัดการความรุนแรงด้วยคำถามปลายเปิด แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน ได้ค่า IOC 0.96 ระยะที่3 การสัมภาษณ์เชิงลึกหัวหน้าพยาบาลเกี่ยวกับนโยบายแนวทางการจัดการความรุนแรงที่แผนกฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลระยอง ระบุว่า ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ได้รับการกระทำรุนแรงด้วยวาจาร้อยละ 100 โดยพบอุบัติการณ์ 1-2 ครั้ง/ปี ร้อยละ 75 และ 3-5 ครั้ง/ปี ร้อยละ 16.6 มากกว่า 6 ครั้ง/ปี ร้อยละ 8.4 โดยปัจจัยที่นำให้เกิดความรุนแรง ได้แก่ ไม่พึงพอใจที่ต้องรอรับบริการนาน ร้อยละ 30 รองลงมา คือ ผู้ป่วยเมาสุรา ร้อยละ 27.14 ผู้ป่วยมีอาการป่วยจิตเวช ร้อยละ 21.43 และ การสื่อสารระหว่างพยาบาลกับญาติไม่เพียงพอ ร้อยละ 17.14 ตามลำดับ การจัดการเมื่อเกิดความรุนแรงแล้ว คือ มีการปรับเกณฑ์การจำแนกระดับความรุนแรงแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลให้แตกต่างกับตามระดับความรุนแรง กำหนดแนวทางการดูแลบุคลากรที่ได้รับความรุนแรงอย่างชัดเจนในส่วนของการป้องกันความรุนแรงคือ กำหนดแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลแก่ญาติทุก 30 นาที และในกรณีที่พบว่าผู้รับบริการเมาสุรา หรือ ป่วยจิตเวช กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่ข้างเตียงขณะทำหัตถการ และการจัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ทุกระดับในเรื่องการเจรจาต่อรอง การป้องกันตัว การควบคุมความรุนแรง และการซ้อมแผนเสมือนจริง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารทางการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13752
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2615100159.pdf1.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น