Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13766
Title: | ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับระบบสุขภาพทางไกล ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี |
Other Titles: | Effects of a Development Program for Hypertension Prevention Behaviors with Telehealth in Hypertension Risk Group at Ban Dung District, Udon Thani Province. |
Authors: | นภาเพ็ญ จันทขัมมา สรารัตน์ สุมาศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา |
Keywords: | ความดันโลหิตสูง สุขภาพทางไกล กลุ่มเสี่ยง พฤติกรรมการป้องกันโรค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ของกลุ่มทดลองก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯ และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังใช้โปรแกรมฯการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองโดยมีกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อายุ 35-59 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับระบบสุขภาพทางไกลในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดพรีซีด ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป และ 2) พฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โดยโปรแกรมฯ และแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา .92 และ .95 ตามลำดับ และแบบสอบถามมีค่าความเที่ยง .71 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ สถิติพรรณนา และสถิติทีชนิดไม่อิสระและสถิติทีชนิดอิสระ ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงดีกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองมีระดับความดันโลหิตซีสโตลิคและระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิคลดลงกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13766 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2645100674.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.