Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13778
Title: | Stress among Health Personnel at Sub-district Health Promoting Hospital Pathum Thani Province during COVID-19 Outbreak ความเครียดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดปทุมธานีในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
Authors: | SAKUNRAT RUEANGSAENG สกุลรัตน์ เรืองแสง Araya Prasertchai อารยา ประเสริฐชัย Sukhothai Thammathirat Open University Araya Prasertchai อารยา ประเสริฐชัย |
Keywords: | ความเครียด ปัจจัยการทำงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Stress Work-related factors Public health officials Covid-19 |
Issue Date: | 11 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This research aimed to examine (1) personal and work-related factors, (2) stress levels, and (3) the relationships between such factors and stress among public health officials at Subdistrict Health Promoting Hospitals in Pathum Thani province during the Covid-19 outbreak.
The study used a cross-sectional design approach. A total sample of 252 public health officials working at Subdistrict Health Promoting Hospitals in Pathum Thani Province were recruited. Data were collected using a questionnaire and then were analyzed to determine frequencies, percentages, averages, and inferential statistics. Chi-square test and Pearson's product moment correlation coefficients were calculated for examining relationships.
The results revealed that: (1) among the 252 respondents, most of them (83.3%) were women aged 21-30 years (50.4%); 54.8% were single, 90.5% had completed a bachelor’s degree, 67.5% had 1-10 years of work experience, and 45.2% had a monthly income of 15,001-20,000 baht; and their work-related factors were at a moderate level; (2) 52.8% of them reported a moderate level of stress; (3) personal factors associated with stress included age, educational level, working time period, and monthly income; and work-related factors associated with work stress consisted of job characteristics and workload, success and career advancement, organizational structure and atmosphere, and relationships in the workplace and organizational roles. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการทำงาน (2) ระดับความเครียด และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง ศึกษาในประชากรที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square test) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.3 อายุอยู่ในช่วง 21-30 ปี ร้อยละ 50.4 สถานภาพ โสด ร้อยละ 54.8 ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ร้อยละ 90.5 ระยะเวลาในการทำงาน อยู่ในช่วง 1-10 ปี ร้อยละ 67.5 และรายได้ต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 45.2 ปัจจัยการทำงานโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (2) มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.8 และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน และรายได้ต่อเดือน ปัจจัยการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำงาน ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะงานและภาระงาน ปัจจัยด้านความสำเร็จและความก้าวหน้าในอาชีพ ปัจจัยด้านโครงสร้างและบรรยากาศในองค์กร ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในการปฏิบัติงาน และบทบาทหน้าที่ในองค์กร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13778 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2635000579.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.