กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13778
ชื่อเรื่อง: ความเครียดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดปทุมธานีในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Stress among health personnel at Sub-district Health Promoting Hospital Pathum Thani Province during COVID-19 Outbreak
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อารยา ประเสริฐชัย
สกุลรัตน์ เรืองแสง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธีระวุธ ธรรมกุล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ไทย--ปทุมธานี--ความเครียดในการทำงาน
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการทำงาน (2) ระดับความเครียด และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง ศึกษาในประชากรที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square test) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.3 อายุอยู่ในช่วง 21-30 ปี ร้อยละ 50.4 สถานภาพ โสด ร้อยละ 54.8 ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ร้อยละ 90.5 ระยะเวลาในการทำงาน อยู่ในช่วง 1-10 ปี ร้อยละ 67.5 และรายได้ต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 45.2 ปัจจัยการทำงานโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (2) มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.8 และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน และรายได้ต่อเดือน ปัจจัยการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำงาน ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะงานและภาระงาน ปัจจัยด้านความสำเร็จและความก้าวหน้าในอาชีพ ปัจจัยด้านโครงสร้างและบรรยากาศในองค์กร ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในการปฏิบัติงาน และบทบาทหน้าที่ในองค์กร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13778
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2635000579.pdf1.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น