กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13790
ชื่อเรื่อง: Social Welfare Needs of the Elderly in Phon Thong Subdistrict, Senangkhanikhom District,  Amnat Charoen Province
ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลโพนทอง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: JENJIRA SOSAMUR
เจนจิรา โสเสมอ
Sompoch Ratioran
สมโภช รติโอฬาร
Sukhothai Thammathirat Open University
Sompoch Ratioran
สมโภช รติโอฬาร
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: ความต้องการสวัสดิการ  ผู้สูงอายุ  ปัจจัยส่วนบุคคล
Social welfare needs
Elderly people
Personal factors
วันที่เผยแพร่:  12
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this cross-sectional survey study were to (1) identify social welfare needs of the elderly and (2) compare the social welfare needs of the elderly, both in ​​Phon Thong subdistrict, Senangkhanikhom district, Amnat Charoen province, according to their personal factors.      The study involved a sample of 254 elders, selected using the systematic sampling from all 946 people aged 60 years and over. The sample size was calculated using the sample size for estimating known population mean method. The study tool was a questionnaire, covering personal factors and social welfare needs of the elderly in seven areas: education, health, housing, job and income, recreation, income stability, and general social services. The questionnaire had been checked by three experts; and its content validity index and reliability value were 1.00 and 0.89, respectively. Descriptive data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation; and comparisons with independent samples t-tests, one-way analysis of variance.  The results revealed that, among the elders/respondents: (1) their overall social welfare needs was at the highest level (x̄ = 4.21; SD=0.46); for all seven areas listed from highest to lowest need levels, the needs were for housing (x̄ = 4.38; SD=0.59), health (x̄ = 4.34; SD=0.59), general social services (x̄ = 4.28; SD=0.55), income stability (x̄ = 4.17; SD=0.63), job and income  (x̄ = 4.12; SD=0.54), recreation  (x̄ = 4.09; SD=0.61) and education (x̄ = 4.00; SD=0.60) and (2) based on a comparison of their social welfare needs, the elders with no job had a higher need level than those with a job and the elders with a caregiver had a higher need level than those without any caregiver, significantly (p= 0.05).
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ และ 2) เปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลโพนทอง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาเชิงสำรวจแบบตัดขวางครั้งนี้ศึกษาในประชากรผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 946 คน คำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยกรณีทราบจำนวนประชากร ได้จำนวน 254 คน และสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์ ปัจจัยส่วนบุคคล และความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา  ด้านสุขภาพอนามัย  ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการทำงานและการมีรายได้ ด้านนันทนาการ ด้านความมั่นคงทางรายได้ และด้านบริการทางสังคมทั่วไป  ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน มีค่าความตรงเท่ากับ 1.00 และตรวจสอบความเชื่อมั่นมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์เปรียบเทียบใช้สถิติการทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า  1) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.21 S.D.= 0.46) โดยความต้องการจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านที่อยู่อาศัย  (x̄ = 4.38 S.D.=0.59) ด้านสุขภาพอนามัย(x̄ = 4.34 S.D.=0.59)  ด้านบริการทางสังคมทั่วไป (x̄ = 4.28 S.D.=0.55) ด้านความมั่นคงทางรายได้ (x̄ = 4.17 S.D.=0.63) ด้านการทำงานและการมีรายได้(x̄ = 4.12 S.D.=0.54)  ด้านนันทนาการ(x̄ = 4.09 S.D.=0.61)  และด้านการศึกษา (x̄ = 4.00 S.D.=0.60) ตามลำดับ และ 2) เปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลโพนทอง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ประกอบอาชีพมีความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีการประกอบอาชีพและกลุ่มตัวอย่างที่มีผู้ดูแล มีความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีผู้ดูแล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13790
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2645000411.pdf1.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น