Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13792
Title: | ปัจจัยของผู้ดูแลและผู้ป่วยติดเตียงที่ส่งผลต่อสภาวะทันตสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
Other Titles: | Factors of caregivers and bedridden patients affecting the dental health status of Bedridden Patients in Hat Yai District, Songkhla Province |
Authors: | มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ เรวดี รัตนะ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี การดูแลผู้ป่วยระยะยาว ผู้ป่วย--การดูแลทันตสุขภาพ การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และสภาวะทันตสุขภาพ และ (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ที่ส่งผลต่อสภาวะทันตสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ประชากรสำหรับการวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทั้งหมดจำนวน 418 คน (เก็บทุกหน่วยประชากร) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความตรงเท่ากับ 1 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และค่าความยากง่ายในเรื่องความรู้เท่ากับ 0.53 เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับปัจจัยนำ อยู่ในระดับมาก ระดับปัจจัยเอื้อ อยู่ในระดับต่ำ ระดับปัจจัยเสริม อยู่ในระดับต่ำ และสภาวะสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยติดเตียงอยู่ในระดับดีและ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะทันตสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง มี 7 ปัจจัย คือ เพศของผู้ป่วยติดเตียง อายุของผู้ป่วยติดเตียง คะแนนการวัดความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยติดเตียง โรคประจำตัวของผู้ป่วยติดเตียง 3 โรคขึ้นไป รายได้ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมากกว่า 15,000 บาท การศึกษาของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงระดับมัธยมปลาย และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ได้ร้อยละ 24.2 (R2=0.242) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13792 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2645000437.pdf | 5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.