กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13792
ชื่อเรื่อง: | Factors of Caregivers and Bedridden Patients Affecting the Dental Health Status of Bedridden Patients in Hat Yai District, Songkhla Province ปัจจัยของผู้ดูแลและผู้ป่วยติดเตียงที่ส่งผลต่อสภาวะทันตสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | REWADEE RATTANA เรวดี รัตนะ Mayurin Laorujisawat มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ Sukhothai Thammathirat Open University Mayurin Laorujisawat มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | ผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเตียง สภาวะทันตสุขภาพ Caregivers Bedridden patients Dental health condition |
วันที่เผยแพร่: | 29 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This study aims to study (1) determine the levels of predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors, and dental health status and (2) explore personal factors as well as predisposing, enabling and reinforcing factors that affect dental health status of bedridden patients in Hat Yai district, Songkhla province. This cross-sectional analytical research involved all bedridden patients andtheir caregivers, totaling 418 individuals, in Hat Yai district, Songkhla Province. Data were collected through an online questionnaire or interview form with a validity value of 1, reliability value of 0.98, and knowledge difficulty value of 0.53. Collected data were then analyzed using such statistics as percentage, mean, and standard deviation and stepwise multiple regression analysis at the confidence level of 0.05. The results showed that: (1) the levels of predisposing, enabling and reinforcing factors were high, low and low, respectively; and the patients’oral health status was at a good level; and (2) there were seven factors significantly affecting the dental health status of bedridden patients: patient’s gender, age, activities of daily living score, and three or more underlying diseases, and each caregiver’s monthly income of over 15,000 baht, high school completion and knowledge about oral health care (24.2%; R2=0.242) at P = 0.05. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และสภาวะทันตสุขภาพ และ (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ที่ส่งผลต่อสภาวะทันตสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ประชากรสำหรับการวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทั้งหมดจำนวน 418 คน (เก็บทุกหน่วยประชากร) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความตรงเท่ากับ 1 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และค่าความยากง่ายในเรื่องความรู้เท่ากับ 0.53 เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับปัจจัยนำ อยู่ในระดับมาก ระดับปัจจัยเอื้อ อยู่ในระดับต่ำ ระดับปัจจัยเสริม อยู่ในระดับต่ำ และสภาวะสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยติดเตียงอยู่ในระดับดีและ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะทันตสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง มี 7 ปัจจัย คือ เพศของผู้ป่วยติดเตียง อายุของผู้ป่วยติดเตียง คะแนนการวัดความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยติดเตียง โรคประจำตัวของผู้ป่วยติดเตียง 3 โรคขึ้นไป รายได้ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมากกว่า 15,000 บาท การศึกษาของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงระดับมัธยมปลาย และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ได้ร้อยละ 24.2 (R2=0.242) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13792 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2645000437.pdf | 5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น