Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13799
Title: | Comparison of the Differences in the Aedes aegypti Larval Indices between Endemic and Non-Endemic Areas with Dengue Fever in Thailand. การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ระหว่างพื้นที่ระบาดและพื้นที่ไม่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในประเทศไทย |
Authors: | TIPPAYARAT PLIBAI ทิพยรัตน์ ผลิใบ Mayurin Laorujisawat มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ Sukhothai Thammathirat Open University Mayurin Laorujisawat มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ [email protected] [email protected] |
Keywords: | ไข้เลือดออก ดัชนีลูกน้ำยุงลาย แอปพลิเคชันทันระบาด แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ แอปพลิเคชัน สมาร์ท อสม. dengue fever Aedes aegypti larval indices Tanrabad application Village Health Volunteers Online application Smart Village Health Volunteers application |
Issue Date: | 27 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This study aimed to compare the differences in the Aedes aegypti larval indices between endemic and non-endemic areas with dengue fever in Thailand using the Tanrabad application, the Village Health Volunteers (VHV) Online application and the Smart Village Health Volunteers (VHV) application.This cross-sectional survey research used secondary data by collecting data from the Epidemiological Surveillance Report (R506) and the A. aegypti larval index data including the House Index (HI) and the Container Index (CI) by district in 2022 from the Tanrabad application, the VHV Online application and the Smart VHV application. Collected data were then analyzed with descriptive statistics for frequency, percentage, median and variance (S2), and also with inferential statistics using Mann Whitney U Test at a statistical significance level of 0.05.The results revealed that A. aegypti larval indices were as follows: the Tanrabad application HI = 18.40% (S2= 297.832) and CI = 5.33% (S2= 90.282); the VHV Online application HI = 11.01% (S2= 192.442) and CI = 1.42% (S2= 26.913); and the Smart VHV application HI = 10.73% (S2= 177.236) and CI = 3.40% (S2= 56.456). When compared between dengue endemic areas and non-endemic areas, differences were found in the A. aegypti larval indices (HI and CI) on the VHV Online and the Smart VHV applications at the significance level of 0.05, but not on the Tanrabad application. การศึกษานี้ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ระหว่างพื้นที่ระบาดและพื้นที่ไม่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในประเทศไทย ของแอปพลิเคชันทันระบาด แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ และแอปพลิเคชัน สมาร์ท อสม.การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) และข้อมูลค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ได้แก่ ค่า House Index (HI) และค่า Container Index (CI) รายอำเภอ ปี พ.ศ. 2565 จากแอปพลิเคชันทันระบาด แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ และแอปพลิเคชัน สมาร์ท อสม. ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาในรูปแบบความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าความแปรปรวน และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยเลือกใช้การทดสอบแมนวิทนีย์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของแอปพลิเคชันทันระบาด มีค่า HI ร้อยละ 18.40 (S2= 297.832) ค่า CI ร้อยละ 5.33 (S2= 90.282) ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ มีค่า HI ร้อยละ 11.01 (S2= 192.442) ค่า CI ร้อยละ 1.42 (S2= 26.913) และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของแอปพลิเคชัน สมาร์ท อสม. มีค่า HI ร้อยละ 10.73 (S2= 177.236) ค่า CI ร้อยละ 3.40 (S2= 56.456) เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยระหว่างพื้นที่ระบาดและพื้นที่ไม่ระบาดของโรคไข้เลือดออก พบความแตกต่างของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (ค่า HI และค่า CI) ของแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ และแอปพลิเคชัน สมาร์ท อสม. ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แต่ไม่พบความแตกต่างของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (ค่า HI และค่า CI) ของแอปพลิเคชันทันระบาด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13799 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2645000601.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.