Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13800
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจถ่ายโอนภารกิจของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย
Other Titles: Factors affecting the intention to transfer missions of personnel in subdistrict health promoting hospitals to the Sukhothai Provincial Administrative Organization
Authors: มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
ลลิตา สุทธิสร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--สุโขทัย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความตั้งใจที่จะถ่ายโอนภารกิจและ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความตั้งใจที่จะถ่ายโอนภารกิจของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย การศึกษานี้เป็นการศึกษาสำรวจแบบภาพตัดขวาง ประชากร คือ ข้าราชการ และพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งยังไม่ถ่ายโอนภารกิจทั้งหมดในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 463 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม Epi Info และสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ได้จำนวน 210 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามเท่ากับ 1 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผลการศึกษา พบว่า (1) ข้าราชการ และพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ยังไม่ถ่ายโอนภารกิจ มีระดับความตั้งใจที่จะถ่ายโอนภารกิจของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย อยู่ในระดับปานกลาง และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความตั้งใจที่จะถ่ายโอนภารกิจของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านประเภทตำแหน่ง ปัจจัยค้ำจุน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านวิธีปกครองบังคับบัญชาหรือการนิเทศงาน และปัจจัยจูงใจ ด้านความสำเร็จในงานของบุคคล และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13800
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2645000619.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.