กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13802
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์            
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to health literacy for non-communication disease among village health volunteer group in Wang pong District, Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภช รติโอฬาร
กัญญาพัชร บัดแก้ว
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรคเรื้อรัง--การป้องกัน
ความรอบรู้ทางสุขภาพ
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ระดับความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ผลลัพธ์ทางสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ  3อ.2ส. และความรู้ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ผลลัพธ์ทางสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ความรู้ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกับความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ประชากรในการศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 650 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป จีพาวเวอร์ ได้จำนวน 156 คน และสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และตรวจสอบความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคของแอลฟาทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด เพียร์สันไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 80.80) อายุเฉลี่ย 51.02 ปี สถานภาพสมรส คู่ (ร้อยละ 83.30) การศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 44.90)  รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 58.30) เป็นอสม.อย่างเดียว (ร้อยละ61.50) มีญาติสายตรงป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ร้อยละ 64.70) ปัจจัยด้านผลลัพธ์ทางสุขภาพ พบว่าส่วนใหญ่ รอบเอวอยู่ในระดับเสี่ยง (ร้อยละ 71.80) ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในช่วงอ้วน (ร้อยละ 33.30)  มีความเครียดระดับปกติ (ร้อยละ 91.70)  ความรู้ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 44.20)  พฤติกรรม 3อ.2ส. ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และ 3) พฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.2ส. มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.38)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13802
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2645000643.pdf1.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น