กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13810
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดของความคาดหวัง และความพึงพอใจในคุณภาพบริการการฝึกพัฒนาการเด็กของคลินิกกิจกรรมบำบัดเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship of marketing mix factors of expectations and satisfaction with childdevelopment training services at a private occupational therapy clinic in Khon Kaen Province Born digital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พาณี สีตกลิน อภิวัฒน์ ลีวัฒนหิรัญไพศาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา มยุรินทร์ เหล่ารุจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--วิทยานิพนธ์ กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็ก |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคาดหวังและระดับความพึงพอใจในคุณภาพบริการฝึกพัฒนาการเด็กของคลินิกกิจกรรมบำบัดเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น และ (2) ความสัมพันธ์ ด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพบริการการฝึกพัฒนาการเด็ก ของคลินิกกิจกรรมบำบัดเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นการวิจัยเชิงพรรณนานี้ ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้รับบริการทางกิจกรรมบำบัดของสถานพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นที่มีบทบาทเป็นผู้ดูแล หรือพ่อแม่ หรือญาติ หรือสมาชิกในครอบครัวที่รับผิดชอบนำผู้รับบริการเด็กมาใช้บริการในสถานพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 387 ราย กลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 233 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนประสมการตลาดของความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพบริการการฝึกพัฒนาการเด็กของคลินิกกิจกรรมบำบัด ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา วิลคอกซัน และสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาวิจัยนี้พบ (1) ในภาพรวม ระดับความคาดหวังในคุณภาพบริการอยู่ในระดับปานกลาง และระดับความพึงพอใจในคุณภาพบริการอยู่ในระดับสูง และคะแนนความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพบริการตามปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในคุณภาพบริการมากกว่าคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในคุณภาพบริการในทุกปัจจัยส่วนประสมการตลาด และ (2) ความสัมพันธ์ของความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพบริการ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมี 2 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านบุคคลมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังและความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13810 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2645001039.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น