กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13814
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the operation of the community health security fund, Mueang Chumphon District, Chumphon Province
Born digital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกพล กาละดี
เฉลิมพล รัตนลาโภ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรางคณา จันทร์คง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์
กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุน การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนที่ส่งผลกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร                การวิจัยเชิงสำรวจนี้ศึกษาจากประชากร คือ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร จำนวน 323 ราย โดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนฯ และ การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.74 และ 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุแบบนำเข้าข้อมูลทุกตัวแปร ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุ 51-60 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นเวลา 41-50 ปี ส่วนใหญ่มีตำแหน่งกรรมการจากผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน ปฏิบัติงานในคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นอยู่ระหว่าง 0-5 ปี  ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตำแหน่งในคณะกรรมการกองทุนฯ และปัจจัยสนับสนุนตามแนวคิดของแมคคินซีย์ ประกอบด้วย ระบบการปฏิบัติงาน รูปแบบการบริหาร ความสามารถ ค่านิยมร่วม เทคโนโลยี และกฎหมายส่งผลกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสามารถในการทำนายได้ร้อยละ 56.10
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13814
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2655000657.pdf4.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น