Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13820
Title: | การเมืองของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ |
Other Titles: | Politics of the mediation of village committees: a case study of Yang Chum Noi District, Sisaket Province |
Authors: | วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล ทวี ทองคำ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การไกล่เกลี่ย คณะกรรมการหมู่บ้าน--ไทย--ศรีสะเกษ การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้านกรณีศึกษาอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษาการเมืองของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาการเมืองของการไกล่เกลี่ยของคณะกรรมการหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษการค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน บุคคลซึ่งเคยเป็นคู่กรณี บุคคลทั่วไปในชุมชน รวมจำนวนทั้งสิ้น15 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบเก็บเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530 มีความสะดวกเป็นประโยชน์ต่อประชาชนสามารถยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน 2) การเมืองของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน มี 2 มิติ 2.1) ระบบอุปถัมภ์ เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้านมาจาก ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำกลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน เป็นต้น ต้องการให้ผู้รับอุปถัมภ์(ประชาชน)สนับสนุนคะแนนเสียง เพื่อตนจะได้เป็นหัวคะแนนให้แก่นักการมืองในระดับต่างๆจึงให้ความอุปถัมภ์โดยการช่วยเหลือเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นในหมู่บ้านสามารถเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายผู้รับอุปถัมภ์เป็นอย่างดี 2.2) ผู้มีอิทธิพล คณะกรรมการหมู่บ้านจะควบการดำรงตำแหน่งอื่นๆหรือเป็นตัวแทนเครือข่ายของภาครัฐในพื้นที่มีฐานะทางสังคมมีเงินมีทอง มีลูกหลานดำรงตำแหน่งในราชการสูง เป็นคนตระกูลกว้างขวางในหมู่บ้านชุมชน เมื่อเป็นเครือญาติของคู่พิพาทในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จึงให้เกิดความเป็นพวกเป็นพ้องกัน จะใช้อำนาจบารมีในตำแหน่งหน้าที่บังคับแก่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมความแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการประนอมข้อพิพาท 3) แนวทางในการแก้ปัญหาการเมืองของการไกล่เกลี่ยของคณะกรรมการหมู่บ้าน 3.1) แก้ไขระเบียบฯให้คู่พิพาทมีสิทธิเลือกกรรมการหมู่บ้านคนใดคนหนึ่งเพื่อดำเนินการประนอมข้อพิพาทของตน 3.2) กรมการปกครอง จังหวัด อำเภอควรให้ความสำคัญในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการหมู่บ้าน และ 3.3) มีหลักสูตรฝึกอบรมทักษะในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้แก่คณะกรรมการหมู่บ้านให้ครบทุกคน ทุกหมู่บ้าน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13820 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2608000952.pdf | 826.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.