กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13820
ชื่อเรื่อง: Politics of the Mediation of Village Committees: A Case Study of Yang Chum Noi District, Sisaket Province
การเมืองของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Tawee Thongkam
ทวี ทองคำ
Wornwaluncha Wattanadejpaisan
วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล
Sukhothai Thammathirat Open University
Wornwaluncha Wattanadejpaisan
วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ระบบอุปถัมภ์ ผู้มีอิทธิพล คณะกรรมการหมู่บ้าน ศรีสะเกษ
Mediation
Patronage System
Influential Person
Village Committees and Sisaket Province
วันที่เผยแพร่:  23
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this independent study were 1) to study the mediation of village committees in a case study of Yang Chum Noi District, Sisaket Province, 2) to study the politics of the mediation of village committees in a case study of Yang Chum Noi District, Sisaket Province, and 3) to suggest solutions for the politics of the mediation of village committees in a case study of Yang Chum Noi District, Sisaket Province.This independent study was qualitative research that incorporated a purposive sampling of key informants consisting of village committees, former disputants, and local people, totaling 15 people. Data was collected through a literature review and in-depth interviews, and then the data was analyzed using descriptive data analysis.This study found that 1) the mediation of village committees complied with the regulations of the Ministry of Interior pertaining to the conciliation of the village committee of B.E. 2530. It is convenient and beneficial to the people, and capable of resolving local disputes. 2) The politics of mediation village committees had two dimensions: 2.1) Patronage system: The village committees came from the village headman, assistant village headman, local government organization members, village leaders of various groups, etc. They required their patrons to support their votes so that they could work as canvassers for politicians at all levels. As a result, it provided assistance when disputes arose in the village and was also capable of conciliation for the advantage of the receiving group. 2.2) Influential people : The village committees often hold other positions or act as representatives of government networks in the area, possessing significant social status and wealth or having a relative in a high government position. When relatives have disputes, it leads to comradery. They may use their power and influence in their official capacity to coerce one party into conceding to the other, resulting in unfairness in mediation. 3) The solutions to village committee mediation included the following: 3.1) Amend regulations to allow disputing parties to select village committees to mediate their dispute. 3.2) The Provincial and District Administration Departments should provide training and knowledge to all village committees. 3.3) Implement training programs on dispute mediation skills for all village committees.
การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้านกรณีศึกษาอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษาการเมืองของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาการเมืองของการไกล่เกลี่ยของคณะกรรมการหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษการค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน บุคคลซึ่งเคยเป็นคู่กรณี บุคคลทั่วไปในชุมชน รวมจำนวนทั้งสิ้น15 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบเก็บเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530 มีความสะดวกเป็นประโยชน์ต่อประชาชนสามารถยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน 2) การเมืองของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน มี 2 มิติ 2.1) ระบบอุปถัมภ์ เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้านมาจาก ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำกลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน เป็นต้น ต้องการให้ผู้รับอุปถัมภ์(ประชาชน)สนับสนุนคะแนนเสียง เพื่อตนจะได้เป็นหัวคะแนนให้แก่นักการมืองในระดับต่างๆจึงให้ความอุปถัมภ์โดยการช่วยเหลือเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นในหมู่บ้านสามารถเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายผู้รับอุปถัมภ์เป็นอย่างดี 2.2) ผู้มีอิทธิพล คณะกรรมการหมู่บ้านจะควบการดำรงตำแหน่งอื่นๆหรือเป็นตัวแทนเครือข่ายของภาครัฐในพื้นที่มีฐานะทางสังคมมีเงินมีทอง มีลูกหลานดำรงตำแหน่งในราชการสูง เป็นคนตระกูลกว้างขวางในหมู่บ้านชุมชน เมื่อเป็นเครือญาติของคู่พิพาทในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จึงให้เกิดความเป็นพวกเป็นพ้องกัน จะใช้อำนาจบารมีในตำแหน่งหน้าที่บังคับแก่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมความแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการประนอมข้อพิพาท 3) แนวทางในการแก้ปัญหาการเมืองของการไกล่เกลี่ยของคณะกรรมการหมู่บ้าน 3.1) แก้ไขระเบียบฯให้คู่พิพาทมีสิทธิเลือกกรรมการหมู่บ้านคนใดคนหนึ่งเพื่อดำเนินการประนอมข้อพิพาทของตน 3.2) กรมการปกครอง จังหวัด อำเภอควรให้ความสำคัญในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการหมู่บ้าน และ 3.3) มีหลักสูตรฝึกอบรมทักษะในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้แก่คณะกรรมการหมู่บ้านให้ครบทุกคน ทุกหมู่บ้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13820
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2608000952.pdf826.94 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น