Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13823
Title: | ฐานอำนาจทางการเมืองของ นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ เขต 6 สังกัดพรรคเพื่อไทย |
Other Titles: | Political power base of Dr. Surawit Khonsomboon Member of the House of Representatives, Chaiyaphum Province, Constituency 6, Pheu Thai Party |
Authors: | วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล กฤตพล เปรมปรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี สุรวิทย์ คนสมบูรณ์, 2492- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร--ไทย--ชัยภูมิ การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่สนับสนุนฐานอำนาจทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิของนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ (2) วิธีการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ ของ นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ และ (3) การรักษาฐานอำนาจทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิของ นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง จากจำนวนประชากร 7 กลุ่ม ได้แก่ นักการเมืองและกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มคู่แข่งขันทางการเมือง กลุ่มข้าราชการทั่วไป กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ และกลุ่มประชาชนทั่วไป รวมทั้งสิ้น 27 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่สนับสนุนฐานอำนาจทางการเมืองของ นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ มี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ ทั้งด้านการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ลักษณะนิสัย เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านในพื้นที่ 2) ปัจจัยด้านเงินทุนที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากพรรคการเมืองเป็นหลักในการสมัครรับเลือกตั้ง 3) ปัจจัยการสนับสนุนจากครอบครัว เครือญาติ พรรคการเมือง นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการ และประชาชนในพื้นที่ มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนหาเสียง และกระจายข่าวสารในการลงพื้นที่ 4) ปัจจัยด้านศักยภาพคู่แข่งทางการเมืองในพื้นที่ การสังกัดพรรคการเมืองขนาดใหญ่และมีนโยบายพรรคที่ชัดเจนมีผลต่อคะแนนเสียงในพื้นที่ (2) วิธีการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง มี 4 วิธี 1) การสร้างความสัมพันธ์กับมวลชน เช่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้สูงอายุ 2) การใช้ระบบอุปถัมภ์ เป็นไปในลักษณะของการสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่น การผลักดันงบประมาณเข้ามาในพื้นที่และการนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น 3) การใช้อิทธิพลผู้นำท้องถิ่น และกลุ่มข้าราชการ เป็นผู้ประสานงานของบประมาณที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และช่วยผลักดันงบประมาณเข้ามาในพื้นที่ และ 4) การใช้นโยบายของพรรคการเมือง เพื่อนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น และต่อประชาชน การสังกัดพรรคการเมืองที่มีความนิยมในพื้นที่ เช่น พรรคไทยรักไทย เป็นต้น (3) การรักษาฐานอำนาจทางการเมืองมี 4 วิธี 1) การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับมวลชน 2) การขยายเครือข่ายของผู้สนับสนุน 3) การจัดสรรผลประโยชน์ต่างๆ เน้นการพัฒนาในพื้นที่อำเภอขนาดใหญ่ที่มีประชากรมาก และเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ 4) การช่วยเหลือ สนับสนุน อุปถัมภ์ประชาชน ข้าราชการในพื้นที่ นักการเมืองท้องถิ่น และผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13823 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2618001339.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.