Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13825
Title: การเมืองในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Politic in the local development plan of Sri Rattana area in Si sa ket Province
Authors: ขจรศักดิ์ สิทธิ
ปิยะณัฐ อินเทียน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ (2) บทบาทของตัวแสดงในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอ ศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มการเมือง (2) กลุ่มข้าราชการประจำ (3) กลุ่มผู้นำท้องที่ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญ คือ นายอำเภอ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง ท้องถิ่นอำเภอ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำนัน รวมทั้งสิ้น 26 คน และศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิชาการ เอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาของกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมไม่ครอบคลุมทุกช่วงวัยและปัญหาความต้องการที่มีมากเกินกว่างบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ (2) บทบาทของตัวแสดงกลุ่มการเมืองเป็นกลุ่มที่สามารถกำหนดว่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานใดที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณ  เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มผลประโยชน์ของตนเอง โดยไม่ได้คำนึงถึงปัญหาหรือความจำเป็นเร่งด่วนที่เกิดขึ้นอยู่ในทุกพื้นที่ ส่วนกลุ่มข้าราชการประจำนั้นไม่ได้มีบทบาทอะไรที่เด่นชัดเพียงแค่ตอบสนองต่อนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นภายใต้ระเบียบและกฎหมายเพื่อรักษาสถานภาพของตัวเองไว้ และกลุ่มผู้นำท้องที่ขาดการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบกับไม่มีความเข้มแข็งและขาดความรู้ความเข้าใจทำให้ส่งผลต่อความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ (3) งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนควรครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย ผู้นำท้องที่จะต้องมีการบูรณาการร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง การจัดลำดับความสำคัญของโครงการจะต้องชี้แจงถึงเหตุผลและความสำคัญ รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีสัดส่วนที่มากขึ้น  ลดความซ้ำซ้อนระหว่างราชการส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานให้ชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13825
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2628000560.pdf8.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.