กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13835
ชื่อเรื่อง: การสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของตระกูลยุทธเจริญกิจในตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political power base building of Yutcharoenkit Clanin Pa Yup Nai Sub-district, Wang Chan District, Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธโสธร ตู้ทองคำ
กิ่งแก้ว ปิยวรการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
นามสกุล--ยุทธเจริญกิจ
นักการเมือง--ไทย--ระยอง
ระยอง--การเมืองและการปกครอง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภูมิหลังและความเป็นมาของตระกูลยุทธเจริญกิจที่มีผลต่อการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง (2) กลยุทธ์และวิธีการในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของตระกูลยุทธเจริญกิจ (3) ผลกระทบจากการสร้างอำนาจทางการเมืองของตระกูลยุทธเจริญกิจ และ (4) แนวโน้มในการสืบทอดอำนาจทางการเมืองของตระกูลยุทธเจริญกิจในตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยองการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากจำนวน 9 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) กลุ่มบุคคลในตระกูลยุทธเจริญกิจ จำนวน 6 คน (2) กลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิด จำนวน 5 คน (3) กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น จำนวน 12 คน (4) กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 13 คน (5) กลุ่มผู้บริหารและพนักงานในพื้นที่นวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก จำนวน 6 คน (6) กลุ่มองค์กรภาคประชาชน จำนวน 6 คน (7) กลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ   และผู้ประกอบการ จำนวน 3 คน (8) กลุ่มนักวิชาการ สื่อมวลชน พระ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 4 คน และ (9) กลุ่มประชาชน   ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบเก็บเอกสาร และแบบสัมภาษณ์   เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการศึกษา พบว่า (1) ภูมิหลังความเป็นมาของตระกูลยุทธเจริญกิจ มาจากชาวจีนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศักราช 2478 ภายหลังมีการประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรสวนปาล์มน้ำมัน จนมีฐานะที่มั่นคง ลูกหลานมีการศึกษาสูง จึงเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพื้นที่ และมีจิตใจโอบอ้อมอารี จึงเป็นที่นิยมชมชอบ ประกอบกับมีเครือญาติและพรรคพวกมาก ซึ่งมีผลต่อการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง (2) กลยุทธ์ ที่ใช้ คือ การวางแผนในการจัดวางตำแหน่งทางการเมือง การสร้างเครือข่ายทางการเมือง การสร้างผลงานและการสื่อสารทางการเมืองที่ดี ส่วนวิธีการ คือ การให้ผลประโยชน์ตอบแทน การสนับสนุนให้มีการจัดตั้งวังจันทร์วัลเลย์ การพัฒนากลุ่มอาชีพ การสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่ (3) ผลกระทบที่สำคัญ คือ การครองอำนาจทางการเมืองอย่างยาวนาน และการพัฒนาพื้นที่อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม จึงได้รับการเชื่อถือจากประชาชน จนเป็นที่ยอมรับของนักการเมืองในจังหวัด   และเป็นฐานเสียงให้นักการเมืองระดับชาติ ส่งผลให้คู่แข่งทางการเมืองสูญเสียอำนาจ และ (4) การสืบทอดอำนาจทางการเมือง มีแนวโน้มจะสนับสนุนนายชวินโรจน์ ยุทธเจริญกิจ ให้เข้าสู่ตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่ายุบใน ต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13835
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2638001103.pdf4.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น