กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13845
ชื่อเรื่อง: | พนักงานบริการทางเพศกับสิทธิทางสังคมของความเป็นพลเมืองในสังคมไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Sex workers and the social rights of citizenship in Thai Society |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนศักดิ์ สายจำปา ปิยะวาที สนิกะวาที มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเแพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเแพาะกรณี ผู้ให้บริการทางเพศ--ไทย สิทธิทางสังคม--ไทย การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสียสิทธิทางสังคมของความเป็นพลเมือง ที่พนักงานบริการทางเพศไม่ได้การรับรองตามกฎหมายในสังคมไทย 2) ศึกษาผลกระทบที่พนักงานบริการทางเพศได้รับเมื่อกฎหมายไม่ให้การรับรองอาชีพของพนักงานบริการทางเพศในสังคมไทย 3) เสนอแนะแนวทางการมีกฎหมายรับรองอาชีพพนักงานบริการทางเพศ เพื่อก่อให้เกิดสิทธิทางสังคมในสังคมไทย ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบันการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาการวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาและค้นคว้าเก็บข้อมูลจากเอกสารวิชาการ วารสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทสัมภาษณ์ออนไลน์ แหล่งข้อมูลต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตและการสัมภาษณ์โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการศึกษาพบว่า 1) การเสียสิทธิทางสังคมของความเป็นพลเมืองที่พนักงานบริการทางเพศไม่ได้การรับรองตามกฎหมายในสังคมไทย ทำให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวต้องเสียสิทธิของตนเองจากการเป็นพลเมืองของสังคมไทยหลายประเด็น เช่น ด้านสวัสดิการแรงงาน ด้านความรุนแรง เนื่องจากไม่มีกฎหมายคุ้มครองพนักงานบริการทางเพศ จึงทำให้พนักงานบริการทางเพศกลายเป็นเหยื่อสุดท้ายในวงจรของห่วงโซ่อาหารของสังคมไทย 2) ผลกระทบที่พนักงานบริการทางเพศได้รับเมื่อกฎหมายไม่ให้การรับรองอาชีพของพนักงานบริการทางเพศในสังคมไทย เหตุเพราะประเทศไทยยึดมั่นในแนวความคิดเรื่องศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามสิทธิเสรีภาพ หรือ สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพนั้นต้องไม่ขัดกับศีลธรรมอันดีงามของสังคมไทย จึงทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของศีลธรรมอันดีงามของสังคมไทย ประกอบกับแนวความคิดเรื่องวาทกรรม การสร้างวาทกรรมเชิงลบของพนักงานบริการทางเพศส่วนหนึ่งมาจากสื่อสารมวลชนบางสำนักที่เสนอข่าวสร้างภาพลักษณ์เชิงลบให้กับพนักงานบริการทางเพศออกสู่สาธารณะชนและประเด็นด้านผลประโยชน์พนักงานบริการทางเพศไม่มีข้อกฎหมายที่คุ้มครองทำให้เกิดช่องว่างในการถูกเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่เกี่ยวข้องกับพนักงานบริการทางเพศ 3) แนวทางการมีกฎหมายรับรองอาชีพพนักงานบริการทางเพศ เพื่อก่อให้เกิดสิทธิทางสังคมในสังคมไทย ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาสิทธิทางสังคมและความเป็นพลเมืองของพนักงานบริการทางเพศต้องมีการแก้ไขปรับปรุงและทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วน การแก้ไขต้องแก้ไขทั้งประเด็นเชิงโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมในเรื่องของการเคารพยอมรับสิทธิในเนื้อตัว ร่างกาย และโครงสร้างเชิงทัศนคติร่วมกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13845 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2648001135.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น