Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13850
Title: The Effects of Using a Guidance Activities Package Based on the Existential Theory to Develop Self-awareness of Grade 9 Students at Rattanakosin Somphot Ladkrabang School in Bangkok
ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเพื่อพัฒนา ความตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง  กรุงเทพมหานคร
Authors: THANYALUK SAENCHAI
ธัญลักษณ์ แสนชัย
Chureerat Nilchantuk
จุรีรัตน์ นิลจันทึก
Sukhothai Thammathirat Open University
Chureerat Nilchantuk
จุรีรัตน์ นิลจันทึก
[email protected]
[email protected]
Keywords: ชุดกิจกรรมแนะแนว ทฤษฎีอัตถิภาวนิยม การตระหนักรู้ในตนเอง มัธยมศึกษา
Guidance activities package
Existential theory
Self-awareness
Mathayom Suksa
Issue Date:  27
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The purposes of this research were 1) to compare students' self-awareness before and after using a guidance activities package based on existential theory to develop self-awareness, and 2) to compare the self-awareness of students who used the guidance activities package based on existential theory to develop self-awareness with those who received traditional guidance.The research sample consisted of 64 students from Grade 9 at Rattanakosin Somphot Ladkrabang School, Bangkok. During the first semester of the 2024 academic year, the students in 13 classrooms in Grade 9 were measured the self-awareness. The 2 classrooms which had the lowest average self-awareness scores were then selected and paired. Then they were randomly assigned into an experimental group and a control group. The employed research instruments were 1) a self-awareness assessment tool 2) a set of guidance activity package based on existential theory to develop self-awareness of grade 9 students, consisting of 12 activities and 3) traditional guidance activities. The Statistics used for data analysis included mean, standard deviation and t-test.The research findings revealed that 1) the use of guidance activities package based on existential theory to develop self-awareness resulted in a significant increase in the students' average self-awareness scores, which were higher than before the experimental at .01 level of statistical significance, and 2) the average self-awareness scores of students who used the guidance activities package based on existential theory to develop the self-knowledge were significantly higher than those who received traditional guidance at the .01 level of statistical significance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง และ 2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองกับนักเรียนที่ได้รับการแนะแนวแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 64 คน ได้มาจากการวัดการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียน จากนักเรียนจำนวน 13 ห้องเรียน แล้วเปรียบเทียบจับคู่ห้องเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยการตระหนักรู้ในตนเองน้อยที่สุด 2 ห้องเรียน จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเพื่อเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง 2) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 กิจกรรม และ 3) การแนะแนวแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมนักเรียนมีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการแนะแนวแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13850
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2652800067.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.