Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13854
Title: | เหตุจำเป็นในการพกพาอาวุธปืนของประชาชนตามกฎหมาย |
Other Titles: | Necessity to carry firearms by law citizens |
Authors: | อัคเดช มโนลีหกุล ปริญญาโท มนต์ชัย หงศุภรักษ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ปืน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ อาวุธ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนและเหตุจำเป็นในการพกพาอาวุธปืนติดตัว (2) ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายกรณีเหตุจำเป็นในการพกพาอาวุธปืน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ในมาตรา 8 ทวิ (3) ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและหลักกฎหมายในการถือครองอาวุธปืนระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (4) เสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมาย พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ในมาตรา 8 ทวิ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารวิชาการทางนิติศาสตร์ ตำราหนังสือ รวมถึง วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามหลักการควบคุมอาวุธปืนและเหตุจำเป็นในการถือครองอาวุธปืนติดตัวมีแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวเนื่องมาจากการควบคุมปัญหาอาชญากรรม และการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การควบคุมอาวุธปืนของรัฐถือเป็นมาตรการในการควบคุมปัญหาอาชญากรรม ทั้งนี้การป้องกันตนเองของประชาชนเป็นหลักการตามธรรมชาติที่ต้องยอมรับ (2) หลักการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาวุธปืนต่อประชาชน ของเจ้าหน้ารัฐ อันประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ และศาล ใช้ดุลพินิจพิจารณาเรื่องเหตุจำเป็นและเร่งด่วนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ผู้ที่พกพาอาวุธปืนเพื่อป้องกันตัวดังกล่าว ได้รับการพิจารณาและตัดสินคดี มีความแตกต่างกัน ทั้งที่มีข้อเท็จจริงเหมือนกัน แต่บางกรณีการตัดสินเป็นความผิด บางกรณีไม่เป็นความผิด (3) แนวคิดหลักกฎหมายในการถือครองอาวุธปืนของประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน มีแนวคิดว่ารัฐเท่านั้น ที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมอาชญากรรม และคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน จึงต้องเข้มงวดกับการถือครองอาวุธปืน สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกามีหลักการเดียวกันคือรัฐมีหน้าที่ควบคุมและป้องกันอาชญากรรม แต่มีความผ่อนปรนสำหรับประชาชนในการถือครองอาวุธปืนเพื่อป้องกันตนเองมากกว่า (4) ควรนำแนวคำวินิจฉัยของศาล ตลอดจนหนังสือเวียนซักซ้อมความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแนวคำสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการ ซึ่งเคยพิจารณาว่าผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนตามกฎหมาย ได้พาอาวุธปืนติดตัวไป ในลักษณะที่ยากแก่การนำมาใช้งาน เช่น การแยกเครื่องกระสุนปืนออกจากอาวุธปืน เก็บไว้ในห้องผู้โดยสาร รถยนต์ หรือนำอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนบรรจุไว้ในกล่องและปิดล๊อคกุญแจเก็บไว้ที่เบาะด้านหลังรถยนต์ ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย โดยถือว่าเป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยมีเหตุสมควร มากกว่าการพิจารณาในเรื่องของเหตุจำเป็นเร่งด่วนมาปรับปรุงกฎหมาย พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ ให้มีความชัดเจน และเพื่อให้การพิจารณาและตัดสินคดีต่อประชาชนที่พกพาอาวุธปืนเพื่อป้องกันตัว เป็นไปด้วยความเหมาะสม และไม่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันต้องควบคุมและเข้มงวดกับผู้ครอบครองอาวุธปืนที่ผิดกฎหมาย ไม่ให้ไปกระทำความผิด รวมถึงการพิจารณาบทเพิ่มโทษกับบุคคลที่นำอาวุธปืนที่ผิดกฏหมาย ไปกระทำความผิด ให้เหมาะสมขึ้น เพื่อคงไว้ซึ่งการควบคุมการถือครองซึ่งอาวุธปืน และการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชน สังคมและบ้านเมืองได้อย่างแท้จริงต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13854 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2584001941.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.