กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13854
ชื่อเรื่อง: The necessity to carry firearms by law citizens
เหตุจำเป็นในการพกพาอาวุธปืนของประชาชนตามกฎหมาย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: MONCHAI HONGSUPARUK
มนต์ชัย หงศุภรักษ์
Akadet Manoleehagul
อัคเดช มโนลีหกุล
Sukhothai Thammathirat Open University
Akadet Manoleehagul
อัคเดช มโนลีหกุล
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: พกพาอาวุธปืน ควบคุมอาชญากรรม คุ้มครองความความปลอดภัยของประชาชน
Carry Firearms
Crime Control
Public Safety
วันที่เผยแพร่:  24
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This independent study aims to (1) examine the concepts and theories of gun control and the necessity of carrying firearms; (2) analyze legal issues related to the necessity of carrying firearms under the Firearms, Ammunition, Explosives, Fireworks, and Imitation Firearms Act B.E. 2490, Section 8 bis; (3) compare the concepts and legal principles of gun ownership between Thailand, the United States of America, Japan, and the People's Republic of China; and (4) propose amendments to Section 8 bis of the Firearms, Ammunition, Explosives, Fireworks, and Imitation Firearms Act B.E. 2490.This study employs qualitative research, drawing on academic legal documents, textbooks, theses, academic articles, printed media, constitutional law, the Firearms, Ammunition, Explosives, Fireworks, and Imitation Firearms Act B.E. 2490, and related foreign laws.The findings reveal that (1) the principles of gun control and the necessity of carrying firearms stem from theories addressing crime prevention and the protection of individual rights and freedoms. Gun control by the state serves as a measure to address crime, while self-defense is a natural principle that must be recognized. (2) The enforcement of gun control laws by state officials—including police, prosecutors, and courts—relies on discretion to determine necessity and urgency, resulting in inconsistent rulings for similar cases. In some instances, carrying a firearm is deemed lawful, while in others, it is considered a crime. (3) The legal concepts of gun ownership in Thailand, Japan, and China emphasize that only the state has the authority to prevent crime and ensure public safety, necessitating strict regulation of gun ownership. In contrast, the United States adheres to the same principle but is more lenient in allowing individuals to own firearms for self-defense. (4) Court rulings, police circulars, and prosecutors' non-prosecution orders should be considered, particularly in cases where legally permitted gun owners carry firearms in a manner that makes them difficult to use, such as separating ammunition from the firearm or storing it securely in a locked box within a vehicle. Such cases should not be regarded as legal offenses. Instead, greater emphasis should be placed on evaluating the reasonableness of carrying a firearm rather than focusing solely on urgent necessity. Amending Section 8 bis of the Firearms, Ammunition, Explosives, Fireworks, and Imitation Firearms Act B.E. 2490 is essential to ensure clarity and consistency in adjudicating cases involving individuals carrying firearms for self-defense. Simultaneously, stricter control over illegal gun ownership and increased penalties for those using illegal firearms in crimes should be implemented. These measures aim to uphold effective gun control, protect public safety, and ensure genuine security for individuals, society, and the nation
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนและเหตุจำเป็นในการพกพาอาวุธปืนติดตัว  (2) ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายกรณีเหตุจำเป็นในการพกพาอาวุธปืน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ในมาตรา 8 ทวิ  (3) ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและหลักกฎหมายในการถือครองอาวุธปืนระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (4) เสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมาย พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490  ในมาตรา 8 ทวิ  การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารวิชาการทางนิติศาสตร์ ตำราหนังสือ รวมถึง วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ  กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.  2490 และกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง   ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามหลักการควบคุมอาวุธปืนและเหตุจำเป็นในการถือครองอาวุธปืนติดตัวมีแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวเนื่องมาจากการควบคุมปัญหาอาชญากรรม และการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การควบคุมอาวุธปืนของรัฐถือเป็นมาตรการในการควบคุมปัญหาอาชญากรรม  ทั้งนี้การป้องกันตนเองของประชาชนเป็นหลักการตามธรรมชาติที่ต้องยอมรับ  (2) หลักการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาวุธปืนต่อประชาชน  ของเจ้าหน้ารัฐ อันประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ และศาล  ใช้ดุลพินิจพิจารณาเรื่องเหตุจำเป็นและเร่งด่วนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ผู้ที่พกพาอาวุธปืนเพื่อป้องกันตัวดังกล่าว ได้รับการพิจารณาและตัดสินคดี มีความแตกต่างกัน ทั้งที่มีข้อเท็จจริงเหมือนกัน แต่บางกรณีการตัดสินเป็นความผิด บางกรณีไม่เป็นความผิด (3) แนวคิดหลักกฎหมายในการถือครองอาวุธปืนของประเทศไทย  ประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน มีแนวคิดว่ารัฐเท่านั้น ที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมอาชญากรรม และคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน จึงต้องเข้มงวดกับการถือครองอาวุธปืน  สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกามีหลักการเดียวกันคือรัฐมีหน้าที่ควบคุมและป้องกันอาชญากรรม  แต่มีความผ่อนปรนสำหรับประชาชนในการถือครองอาวุธปืนเพื่อป้องกันตนเองมากกว่า   (4) ควรนำแนวคำวินิจฉัยของศาล  ตลอดจนหนังสือเวียนซักซ้อมความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ  และแนวคำสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการ ซึ่งเคยพิจารณาว่าผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนตามกฎหมาย ได้พาอาวุธปืนติดตัวไป ในลักษณะที่ยากแก่การนำมาใช้งาน  เช่น การแยกเครื่องกระสุนปืนออกจากอาวุธปืน  เก็บไว้ในห้องผู้โดยสาร รถยนต์  หรือนำอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนบรรจุไว้ในกล่องและปิดล๊อคกุญแจเก็บไว้ที่เบาะด้านหลังรถยนต์ ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย โดยถือว่าเป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยมีเหตุสมควร  มากกว่าการพิจารณาในเรื่องของเหตุจำเป็นเร่งด่วนมาปรับปรุงกฎหมาย พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.  2490  มาตรา 8 ทวิ  ให้มีความชัดเจน และเพื่อให้การพิจารณาและตัดสินคดีต่อประชาชนที่พกพาอาวุธปืนเพื่อป้องกันตัว  เป็นไปด้วยความเหมาะสม และไม่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันต้องควบคุมและเข้มงวดกับผู้ครอบครองอาวุธปืนที่ผิดกฎหมาย ไม่ให้ไปกระทำความผิด  รวมถึงการพิจารณาบทเพิ่มโทษกับบุคคลที่นำอาวุธปืนที่ผิดกฏหมาย ไปกระทำความผิด  ให้เหมาะสมขึ้น เพื่อคงไว้ซึ่งการควบคุมการถือครองซึ่งอาวุธปืน  และการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชน สังคมและบ้านเมืองได้อย่างแท้จริงต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13854
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2584001941.pdf1.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น