กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13858
ชื่อเรื่อง: การระบุจุดวิกฤติที่ต้องควบคุมในระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมสำหรับน้ำส้ม 25 เปอร์เซ็นต์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำส้มในจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Identification of Critical Control Points in the Hazard Analysis and Critical Control Points System for 25% Orange Juice: a Case Study of an Orange Juice Factory in Pathum Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรชัย สินสุวรรณ
พิมพ์พิศา อภิธนาวันทน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
อุตสาหกรรมน้ำส้ม
การศึกษาอิสระ--การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตน้ำส้ม 25 เปอร์เซ็นต์ และระบุจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในโรงงานผลิตน้ำส้ม 25 เปอร์เซ็นต์ แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้ได้ดำเนินการโดยการตรวจสอบเชิงลึกของกระบวนการผลิตน้ำส้ม 25 เปอร์เซ็นต์ ผ่านการสังเกตโดยตรงในทุกขั้นตอนการผลิต และการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายผลิต เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ และเจ้าหน้าที่คลังสินค้า นอกจากนี้ยังได้มีการทบทวนเอกสารของโรงงานเกี่ยวกับสุขลักษณะที่ดีในการผลิต และคู่มือวิธีการปฏิบัติงานมาตรฐานด้านสุขลักษณะ เพื่อทำความเข้าใจถึงแนวปฏิบัติที่มีอยู่ ทำการวิเคราะห์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต จากนั้นระบุจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม และจัดทำแผนปฏิบัติงานการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม    ผลการวิเคราะห์พบว่ามีจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม 2 จุดในกระบวนการผลิตน้ำส้ม 25 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ 1) ขั้นตอนการพาสเจอร์ไรซ์ ต้องควบคุมอุณหภูมิที่มากกว่าหรือเท่ากับ 73 องศาเซลเซียสนาน 31 วินาที กระบวนการนี้จำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและเวลาอย่างแม่นยำและการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อกำจัดอันตรายทางชีวภาพ คือจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ที่หลงเหลืออยู่จากการให้ความร้อน 2) ขั้นตอนการบรรจุ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นคือจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคจากมือพนักงานที่สัมผัสขวดเปล่าในขณะลำเลียงขวดบนสายพานก่อนการบรรจุ สุขลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานบรรจุมีความจำเป็นอย่างมากต่อการป้องกันอันตรายทางชีวภาพในผลิตภัณฑ์ การวิจัยนี้ยังได้ให้แนวทางในการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนในกระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13858
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2657000085.pdf9.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น