Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13859
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองท้องที่กับการปกครองท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะ: กรณีศึกษา ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา |
Other Titles: | Relationship between local government and local administration in public service provision: a case study of Samet Tai Subdistrict, Bang Khla District, Chachoengsao |
Authors: | ธนศักดิ์ สายจำปา น้ำผึ้ง คำสอาด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์ บริการสาธารณะ--ไทย--ฉะเชิงเทรา การปกครองท้องถิ่น--ไทย--ฉะเชิงเทรา การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์เชิงบทบาทและอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองท้องที่และฝ่ายปกครองท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะของตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความร่วมมือกันของการปกครองท้องที่และการปกครองท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะของตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และ (3) ปัญหาอุปสรรค และเสนอแนะแนวทางความร่วมมือในการจัดทำบริการสาธารณะของการปกครองท้องที่และการปกครองท้องถิ่น ของตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 คน ได้แก่ ข้าราชการ ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ และประชาชนในพื้นที่จาก 6 หมู่บ้าน เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้คือแบบสัมภาษณ์ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสัมพันธ์เชิงบทบาทและอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองท้องที่และฝ่ายปกครองท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะของตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ ทั้งฝ่ายท้องที่และฝ่ายท้องถิ่น จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อรับฟังปัญหาของประชาชนแล้วนำมาเข้ากลไก กระบวนการของรัฐในการจัดบริการสาธารณะ เป็นการประสานงานกันโดยอำเภอเป็นตัวกลาง โดยฝ่ายท้องที่นำโดยผู้นำชุมชนมีหน้าที่ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองท้องที่และการปกครองท้องถิ่นในการทำงานร่วมกันเพื่อจัดบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วในการแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการปกครองท้องที่ การปกครองท้องถิ่น และรวมถึงองค์กรต่างๆในการดูแลประชาชนในพื้นที่ (2) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความร่วมมือกันของการปกครองท้องที่และการปกครองท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะของตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ 1) ความเดือดร้อนของประชาชน ณ ปัจจุบัน เพื่อตอบสนองหรืออำนวยประโยชน์ให้กับประชาชน แก้ไขความเดือดร้อนให้ประชาชนได้จริง 2) การวางแผนงานเพื่อรองรับปัญหาในอนาคต และ 3) การจัดสรรงบประมาณ และ (3) ปัญหาอุปสรรค ในการจัดทำบริการสาธารณะของการปกครองท้องที่และการปกครองท้องถิ่น ของตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ปัญหาด้านงบประมาณ บุคลากร ความไม่ชัดเจนของอำนาจหน้าที่ ประชาชนยังขาดองค์ความรู้เรื่องด้านการจัดบริการสาธารณะ ชาวบ้านให้ความร่วมมือน้อย ผู้นำทั้งท้องถิ่นและท้องที่ มีความคิดเห็นไม่ตรงกันในบางเรื่อง และแนวทางความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะของการปกครองท้องที่และการปกครองท้องถิ่น คือ 1) ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานระหว่างกันให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2) ต้องสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ประสานความร่วมมือระหว่างประชาชนและหน่วยงานรัฐ โดยคำนึงถึงความถูกต้องเป็นหลัก และ 3) ควรจัดให้มีการประชุมร่วมกันเดือนละครั้ง เพื่อปรึกษาหารือกัน และทำงานไปด้วยกัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13859 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2608000994.pdf | 915.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.