Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13861
Title: | แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก |
Other Titles: | Extension guideline for participation in The Operations of Community Enterprises Members in Tha Song Yang District, Tak Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง ธนัท ตาปัญญา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ วิสาหกิจชุมชน--ไทย--ตาก |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) สภาพการเป็นสมาชิกของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิก 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมดำเนินงานของสมาชิก 5) ความรู้ที่ได้รับและความต้องการความรู้ที่ต้องการของสมาชิกในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 6) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนการวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนในอำเภอท่าสองยาง จำนวน 576 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 236 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ การวิเคราะห์เนื้อหา และการหาค่าที ( t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.31 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.81 คน มีอาชีพหลักทำการเกษตร 2) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตพืช มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกเฉลี่ย 6.60 ปี ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมจากภาครัฐ ทำกิจกรรมการผลิตสินค้า มีผลตอบแทนจากการเป็นสมาชิกเฉลี่ย 12,994.24 บาท/ปี 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดย ด้านการบริหารจัดการมีส่วนร่วมในระดับน้อย ด้านการผลิตการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ด้านการตลาดการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับปานกลาง และด้านบัญชีและการเงินการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง 4) ปัญหาการมีส่วนร่วมดำเนินงานของสมาชิกอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการผลิต ด้านการตลาด และด้านบัญชีและการเงิน 5) ระดับความรู้ที่ได้รับและระดับความต้องการการส่งเสริมมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 เกษตรกรต้องการความรู้ในระดับมากที่สุดในด้านการตลาด 6) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้แก่ (1) ด้านการบริหารจัดการ ส่งเสริมให้สมาชิกได้ร่วมกันออกแบบโครงสร้างและกกระเบียบที่เหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชนของตนเอง (2) ด้านการผลิต ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องมาตรฐานคุณภาพ วิธีการตรวจสอบคุณภาพ และจัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพร่วมกันเป็นกลุ่ม (3) ด้านการตลาด ส่งเสริมให้สมาชิกร่วมกันวิเคราะห์ต้นทุนและกำหนดราคาขายที่เหมาะสม (4) ด้านบัญชีและการเงิน ส่งเสริมความรู้ให้สมาชิกสามารถบันทึกบัญชีได้ด้วยตนเอง และจัดทำแบบฟอร์มบันทึกบัญชีที่ง่ายต่อการใช้งาน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13861 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659000836.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.