กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13867
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting to success of community enterprises operations in Sang Khom District, Udon Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ เยาวดี สุนทร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ วิสาหกิจชุมชน--ไทย--อุดรธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการในการส่งเสริมการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน และ 5) ปัญหาในการดำเนินงานและแนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน งานวิจัยเรื่องนี้ เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ วิสาหกิจชุมชนในอำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี จำนวน 71 แห่ง สมาชิกรวม 263 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 159 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากตามสัดส่วนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ มีอายุเฉลี่ย 50.38 ปี ระยะเวลาการเข้าร่วมเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 6.13 ปี รายได้จากวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 70,444.96 บาทต่อปี 2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน พบว่า มีการดำเนินงานในระดับมากในด้านผู้นำ ด้านการวางแผน ดำเนินงานในระดับปานกลางในด้านการบริหารตลาด ด้านการจัดการความรู้และข้อมูล ด้านการบริหารสมาชิก และด้านการจัดการสินค้าหรือบริการ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ ด้านผู้นำ ด้านการวางแผน ด้านการบริหารตลาด ด้านการจัดการความรู้และข้อมูล และด้านการจัดการสินค้าหรือบริการ โดยสมการสามารถทำนายความสำเร็จร้อยละ 67.0 4) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนได้รับความรู้การบริหารตลาดน้อยที่สุด และต้องการความรู้ในด้านการบริหารตลาดมากที่สุด 5) สมาชิกวิสาหกิจชุมชน มีปัญหาในการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาด้านการบริหารตลาดมากที่สุด ส่วนแนวทางการส่งเสริมการดำเนินงาน คือ นักส่งเสริมมีบทบาทในการส่งเสริมให้ความรู้ในด้านผู้นำ ด้านการวางแผน ด้านการบริหารตลาด ด้านการจัดการความรู้และข้อมูล ด้านการบริหารสมาชิก และด้านการจัดการสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการในการส่งเสริมที่เหมาะสม ได้แก่ การศึกษาดูงาน การลงพื้นที่ให้ความรู้ การฝึกอบรม การสาธิต และการส่งเสริมผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานสามารถพึ่งตนเองได้ มีผลกำไรมั่นคง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13867 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659001479.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น