Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13885
Title: | การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง จังหวัดลำปาง |
Other Titles: | Developing mathematics problem solving and mathematics communication ability by using open approach in the topic of time for grade 3 students at Chumchon Ban Thung School Lampang Province |
Authors: | สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก ปภณ ตั้งประเสริฐ, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วินิจ เทือกทอง |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--วิทยานิพนธ์ การแก้ปัญหา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--ลำปาง |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด และ (2) พัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง จังหวัดลำปาง จำนวน 26 คน จัดห้องเรียนแบบเรียนรวม มีนักเรียนคละความสามารถจำนวน 19 คน และนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 7 คน ดำเนินการวิจัยจำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด เรื่อง เวลา (2) แบบบันทึกการถอดโปรโตคอล ในชั้นเรียน (3) แบบประเมินผลงานนักเรียน (4) แบบบันทึกการสังเกตชั้นเรียน (5) แบบบันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (6) แบบทดสอบย่อยวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (7) แบบวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ (8) แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ตีความหมาย และลงข้อสรุป โดยนำเสนอในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด (1) ความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้งชั้นเรียนสูงขึ้นทันทีหลังการปฏิบัติในวงจรที่สอง และลดลงเพียงเล็กน้อยในวงจรถัดมา อย่างไรก็ตาม คะแนนเฉลี่ยมีค่ามากกว่าร้อยละ 70 ในทุกวงจร และภายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติการ (74.23, 81.35, 79.04 และ 70.77 ตามลำดับ) หากพิจารณาเฉพาะนักเรียนปกติ โดยไม่รวมนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 90 ในทุกวงจร และมากกว่าร้อยละ 80 ภายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติการ (91.32, 90.79 และ 90.53 และ 86.32 ตามลำดับ) และ (2) ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้งชั้นเรียนเพิ่มขึ้นจากระดับพอใช้ เป็นระดับดี และดีมาก ตามลำดับ โดยในวงจรที่หนึ่ง นักเรียนร้อยละ 26.92 มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ และนักเรียนร้อยละ 73.08 มีความสามารถในการสื่อสาร ทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี ในวงจรที่สอง นักเรียนร้อยละ 11.54 มีความสามารถอยู่ในระดับพอใช้ และร้อยละ 88.46 มีความสามารถอยู่ในระดับดี ในวงจรที่สาม ไม่มีนักเรียนที่มีความสามารถในการสื่อสารอยู่ในระดับพอใช้ นักเรียนร้อยละ 19.23 มีความสามารถอยู่ในระดับดี และร้อยละ 80.77 มีความสามารถอยู่ในระดับดีมาก และท้ายการปฏิบัติการนักเรียนร้อยละ 80.77 มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับดีขึ้นไป และนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้มีพัฒนาการของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นจากระดับพอใช้ เป็นระดับดี และดีมาก เช่นเดียวกัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13885 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License