Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13887
Title: ปัญหาทางการเมืองของการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2554 ถึง 2566)
Other Titles: Political problems of implementing the community health security fund policy : a case study of Nuea Khlong Subdistrict Municipality, Nuea Khlong District, Krabi Province (2011 to 2023)
Authors: ธโสธร ตู้ทองคำ
ชนินทร์ อ๋องหงวน, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความขัดแย้งทางการเมือง--ไทย--กระบี่
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาทางการเมืองของการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2554 ถึง 2566) (2) ปัจจัยทางการเมืองที่มีผลต่อการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2554 ถึง 2566) (3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเหนือคลองอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2554 ถึง 2566) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักการเมือง จำนวน 2 คน (2) เจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 3 คน (3) คณะกรรมการกองทุน จำนวน 5 คน (4) กลุ่มองค์การภาคประชาสังคม จำนวน 4 คน (5) ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับกองทุน จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบเก็บเอกสาร และแบบสัมภาษณ์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาทางการเมืองของการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ ได้แก่ ฝ่ายการเมืองและหน่วยงานราชการส่วนกลางกำหนดนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นคลุมเครือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีระดับความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของนโยบายที่แตกต่างกัน หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคกดดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยอมรับนโยบายมาปฏิบัติ ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ได้แสวงหาการสนับสนุนการนำนโยบายกองทุนไปปฏิบัติเท่าที่ควร และขาดความตระหนักในการปรับตัวให้ท้องถิ่นพร้อมรองรับกับนโยบาย หน่วยงานระดับบน ตั้งแต่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับเขตและส่วนกลาง ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำนโยบายกองทุนไปปฏิบัติ (2) ปัจจัยทางการเมืองที่มีผลต่อการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ ได้แก่ ฝ่ายการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นมีบทบาทแทรกแซงการดำเนินนโยบายกองทุนอย่างชัดเจน รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนงบประมาณอย่างเหมาะสม กลุ่มชนชั้นนำในท้องถิ่นเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่ให้การสนับสนุนนโยบาย นอกจากนี้การที่ฝ่ายการเมืองไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องอัตรากำลัง ทำให้มีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและขาดความรู้ความเข้าใจในนโยบายกองทุน จึงส่งผลต่อทัศนะของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการประสานขานรับนโยบาย (3) ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ คือ ฝ่ายการเมืองต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนบนพื้นฐานของหลักนิติธรรมให้ความสำคัญกับการนำนโยบายกองทุนไปปฏิบัติ ควรติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จึงจะทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกองทุนเกิดความตื่นตัว สนใจและเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการนำนโยบายกองทุนไปปฏิบัติตามไปด้วย ผ่านการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้มีการพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระหว่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13887
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT (5).pdfเอกสารฉบับเต็ม17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons