Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13900
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุณฑริกา นันทาth_TH
dc.contributor.authorเยาวเรศ แสงสาย, 2537-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-02-01T02:36:13Z-
dc.date.available2025-02-01T02:36:13Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13900en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565th_TH
dc.description.abstractการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการผลิตครามของเกษตรกร 2) คุณภาพเนื้อคราม และ 3) แนวทางการจัดการการผลิตครามคุณภาพของเกษตรกร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมวิธี 1) งานวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกครามใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้แก่ ต.สว่าง ต.เชิงชุม ต.นาหัวบ่อ จำนวน 30 ราย คัดเลือกตัวอย่างแบบสโนวบอลล์ เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) งานวิจัยเชิงปริมาณ ตรวจสอบคุณภาพเนื้อครามด้วยเครื่องวัดสี (colorimeter) และวัดการปนเปื้อนของปูนขาว ผลการวิจัย พบว่า 1) การผลิตครามของเกษตรกร 3 ตำบลมีวิธีการปลูกครามที่ใกล้เคียงกัน คือ มีเตรียมดินโดยไถตะ ไถแปร 1 ครั้ง ขยายพันธุ์ต้นครามโดยเพาะเมล็ดลงแปลงโดยตรง ยกเว้น ต.นาหัวบ่อ ที่เพาะกล้าครามในถาดหลุมแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลง ใช้ระยะปลูก 25 x 25 30 x 30 และ 45 x 45 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยเคมีเมื่อต้นครามอายุ 1 เดือน และหลังจากเก็บเกี่ยว เกษตรกรเก็บเกี่ยวครามเมื่ออายุ 3-4 เดือน ในช่วงเวลา 5.00-6.00 น. เกษตรกร ต. สว่าง และ ต. เชิงชุม เก็บครามโดยใช้มือเด็ดกิ่งทีละกิ่ง เกษตรกร ต. นาหัวบ่อ โดยใช้เคียวเกี่ยวทั้งต้น การสกัดเนื้อครามเกษตรกรแช่ใบครามและต้นครามในน้ำ 8-12 ชั่วโมง ขึ้นกับสภาพอากาศ กลับครามที่แช่น้ำทุก 6 ชั่วโมง จากนั้นกรองน้ำคราม ใส่ปูนแดงคนให้เข้ากัน นำครามไปกรองไปนอนเพื่อให้ได้เนื้อคราม 2) คุณภาพเนื้อครามของทั้ง 3 ตำบลมีคุณภาพดี จากการวัดสี พบว่า เนื้อครามทั้งหมดเฉดสีเป็นสีน้ำเงินโดย ตำบลสว่างมีสีเนื้อครามเข้มที่สุด สิ่งเจือปนที่พบในเนื้อคราม คือ ปูนแดงที่ผสมเป็นเนื้อครามโดยทั้ง 3 ตำบลมีปริมาณสิ่งเจอปน 3-8 กรัมต่อเนื้อคราม 1 กิโลกรัม ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ 40 กรัมต่อ 1 กิโลกรัม 3) แนวทางการจัดการการผลิตครามคุณภาพ เกษตรกรควรไถตะ ไถแปร 1 ครั้ง เพาะเมล็ดลงแปลงโดยตรงคลุมพลาสติกสีดำ ใช้ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ร่วมกับบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอก หากไม่มีการวิเคราะห์ดินควรใส่ปุ่ยครั้งแรก เมื่อต้นครามอายุ 1 เดือน อัตรา 5 กรัมต่อต้น และหลังที่ตัดใบคราม 1 เดือน ในอัตราที่เท่ากัน เก็บเกี่ยวใบครามเมื่ออายุ 3 เดือน ในช่วงเวลา 5.00-6.00 น. หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น การสกัดเนื้อครามให้นำกิ่งครามที่ตัดแล้วมาแช่น้ำในถังพลาสติก 12 ชั่วโมง กลับครามทุก 6 ชั่วโมง กรองน้ำครามและใส่ปูนแดงอัตรา 1.8 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร คนและตีน้ำครามเพื่อเพิ่มอากาศ นำไปกรองเพื่อให้ได้เนื้อครามและเก็บรักษาในภาชนะปิดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectคราม (พืช)--การผลิตth_TH
dc.titleการจัดการการผลิตครามคุณภาพของเกษตรกรผู้ปลูกครามในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครth_TH
dc.title.alternativeManagement of indigo production of indigo growers in Phanna Nikhom District, Sakon Nakhon Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study: 1) the production process of indigo farmers in Phanna Nikhom District, Sakon Nakhon Province; 2) the quality of the indigo and indigo dye they produced; 3) approaches for improving indigo production management for higher quality. This was mixed-methods research. 1) For the qualitative research, the study population was indigo farmers in Sawang, Choeng Chum, and Na Hua Bo sub-districts, Phanna Nikhom District, Sakon Nakhon Province, out of which 30 samples were selected through snowball sampling. The data collection tool was a semi-structured interview form for in-depth interviews. Data were analyzed through content analysis. 2) For the quantitative research, a colorimeter was used to measure the color of indigo dye samples, and the amount of contaminants was measured. The results showed that 1) the farmers in the 3 sub-districts used similar indigo production methods. They prepared the soil by first plowing, then tilling. Farmers in Sawang and Choeng Chum planted seeds directly in the field while farmers in Na Hua Bo planted seeds in seedling trays first and then transplanted seedlings into the field with spacing 25 × 25, 30 × 30 and 45 × 45 centimeters. They used manure biofertilizers and chemical fertilizers applied once when the indigo plants were one month old and again after harvesting. Harvest was at 3-4 months and was done at 5.00-6.00 in the morning. Farmers in Sawang and Choeng Chum harvested by hand, plucking each individual branch, while farmers in Na Hua Bo harvested whole plants with a sickle. To get indigo dye, the farmers soaked the indigo plants and leaves in water for 8-12 hours, depending on the weather conditions, flipping it in the water every 6 hours. Then they strained it, added calcium hydroxide, and stirred until well incorporated, and filtered it to get indigo dye. 2) The indigo dye produced by all farmers in all 3 sub-districts was of good quality. There were blue color measurements of the dye from the 3 sub-districts, but the dye from Sawang sub-district had slightly more intense color, The only contaminant detected was calcium hydroxide, but it was less than the allowed amount in the dye from all 3 sub-districts. 3) Recommended approaches for improving indigo production management are to plow once, cultivate once, plant seeds directly in the field with spacing 30 × 30 centimeters, cover with black plastic sheeting and apply chemical fertilizer based on soil analysis together with manure. Fertilizer should be applied at the rate of 5 g per plant one month after planting and again at the same rate 1 month after the leaves are harvested. The indigo should be harvested at 3 months at 5:00-6:00 a.m. or before the sun is up. The branches should be cut and soaked in water in a plastic tub for 12 hours, flipping every 6 hours. Then the dye should be strained, and calcium hydroxide added at the rate of 1.8 kg for every 200 liters of water, stirring and beating the water to oxygenate it. Lastly, the dye should be filtered and then stored in a closed-lid container.en_US
dc.contributor.coadvisorปาริชาติ ดิษฐกิจth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons