กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13900
ชื่อเรื่อง: การจัดการการผลิตครามคุณภาพของเกษตรกรผู้ปลูกครามในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Management of indigo production of indigo growers in Phanna Nikhom District, Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุณฑริกา นันทา
เยาวเรศ แสงสาย, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปาริชาติ ดิษฐกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์
คราม (พืช)--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการผลิตครามของเกษตรกร 2) คุณภาพเนื้อคราม และ 3) แนวทางการจัดการการผลิตครามคุณภาพของเกษตรกร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมวิธี 1) งานวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกครามใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้แก่ ต.สว่าง ต.เชิงชุม ต.นาหัวบ่อ จำนวน 30 ราย คัดเลือกตัวอย่างแบบสโนวบอลล์ เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) งานวิจัยเชิงปริมาณ ตรวจสอบคุณภาพเนื้อครามด้วยเครื่องวัดสี (colorimeter) และวัดการปนเปื้อนของปูนขาว ผลการวิจัย พบว่า 1) การผลิตครามของเกษตรกร 3 ตำบลมีวิธีการปลูกครามที่ใกล้เคียงกัน คือ มีเตรียมดินโดยไถตะ ไถแปร 1 ครั้ง ขยายพันธุ์ต้นครามโดยเพาะเมล็ดลงแปลงโดยตรง ยกเว้น ต.นาหัวบ่อ ที่เพาะกล้าครามในถาดหลุมแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลง ใช้ระยะปลูก 25 x 25 30 x 30 และ 45 x 45 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยเคมีเมื่อต้นครามอายุ 1 เดือน และหลังจากเก็บเกี่ยว เกษตรกรเก็บเกี่ยวครามเมื่ออายุ 3-4 เดือน ในช่วงเวลา 5.00-6.00 น. เกษตรกร ต. สว่าง และ ต. เชิงชุม เก็บครามโดยใช้มือเด็ดกิ่งทีละกิ่ง เกษตรกร ต. นาหัวบ่อ โดยใช้เคียวเกี่ยวทั้งต้น การสกัดเนื้อครามเกษตรกรแช่ใบครามและต้นครามในน้ำ 8-12 ชั่วโมง ขึ้นกับสภาพอากาศ กลับครามที่แช่น้ำทุก 6 ชั่วโมง จากนั้นกรองน้ำคราม ใส่ปูนแดงคนให้เข้ากัน นำครามไปกรองไปนอนเพื่อให้ได้เนื้อคราม 2) คุณภาพเนื้อครามของทั้ง 3 ตำบลมีคุณภาพดี จากการวัดสี พบว่า เนื้อครามทั้งหมดเฉดสีเป็นสีน้ำเงินโดย ตำบลสว่างมีสีเนื้อครามเข้มที่สุด สิ่งเจือปนที่พบในเนื้อคราม คือ ปูนแดงที่ผสมเป็นเนื้อครามโดยทั้ง 3 ตำบลมีปริมาณสิ่งเจอปน 3-8 กรัมต่อเนื้อคราม 1 กิโลกรัม ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ 40 กรัมต่อ 1 กิโลกรัม 3) แนวทางการจัดการการผลิตครามคุณภาพ เกษตรกรควรไถตะ ไถแปร 1 ครั้ง เพาะเมล็ดลงแปลงโดยตรงคลุมพลาสติกสีดำ ใช้ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ร่วมกับบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอก หากไม่มีการวิเคราะห์ดินควรใส่ปุ่ยครั้งแรก เมื่อต้นครามอายุ 1 เดือน อัตรา 5 กรัมต่อต้น และหลังที่ตัดใบคราม 1 เดือน ในอัตราที่เท่ากัน เก็บเกี่ยวใบครามเมื่ออายุ 3 เดือน ในช่วงเวลา 5.00-6.00 น. หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น การสกัดเนื้อครามให้นำกิ่งครามที่ตัดแล้วมาแช่น้ำในถังพลาสติก 12 ชั่วโมง กลับครามทุก 6 ชั่วโมง กรองน้ำครามและใส่ปูนแดงอัตรา 1.8 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร คนและตีน้ำครามเพื่อเพิ่มอากาศ นำไปกรองเพื่อให้ได้เนื้อครามและเก็บรักษาในภาชนะปิด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13900
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons