กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13904
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมการผลิตเห็ดตับเต่าตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension of Bolete (Boletus colossus Heim) produces accordance with good agricultural practice of farmers in Sam Ruean Sub-district, Bang Pa-in District, Phranakhon Si Ayutthaya Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จินดา ขลิบทอง นภัสกร อินทร์สันต์, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ เห็ดตับเต่า--การผลิต การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดตับเต่า 2) การผลิตเห็ดตับเต่าตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร และ 4) ความต้องการความรู้และแนวทางการส่งเสริมการผลิตเห็ดตับเต่าตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ผลิตเห็ดตับเต่าในพื้นที่ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และขึ้นทะเบียนการผลิตเห็ดตับเต่ากับสำนักงานเกษตรอำเภอบางปะอินในปี 2563 จำนวน 82 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ คำาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 56.1 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 60.09 ปี จบการศึกษาประถมศึกษาสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.63 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.95 คน รายได้จากการผลิตเห็ดตับเต่าเฉลี่ย 55,741.28 บาทต่อปี พื้นที่ผลิตเห็ดตับเต่าเฉลี่ย 1.36 ไร่ 2) เกษตรกรทั้งหมดมีการผลิตตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมาก 6 ประเด็น ได้แก่ น้ำ พื้นที่ปลูก วัตถุอันตรายทางการเกษตร การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูก การเก็บรักษา และการจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว และสุขลักษณะส่วนบุคคล สำหรับประเด็นที่ยังปฏิบัติที่ระดับน้อย คือ การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ 3) เกษตรกรมีปัญหาในระดับปานกลาง ได้แก่ การจดบันทึกข้อมูล และภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม เกษตรกรเสนอแนะเรื่องการบันทึกที่อ่านเข้าใจง่าย และเตรียมวางแผนการผลิตก่อนช่วงฤดูน้ำหลาก และ 4) ต้องการความรู้ระดับมากที่สุดเกี่ยวกับการจัดการแหล่งน้ำ การเตรียมพื้นที่ผลิตเห็ดตับเต่า การป้องกันและกำจัดโรค การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว และหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการขนย้ายผลิตผล สุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน การบันทึกข้อมูล การแปรรูปผลผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาด แนวทางการส่งเสริม คือ ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมองค์ความรู้ การแปรรูป ผ่านช่องทาง ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์จากโปสเตอร์ และผ่านวิธีการส่งเสริม ได้แก่ การบรรยาย และการจัดทัศนศึกษา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13904 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License